ลายผิวกับการทำงานของสมอง

ตอบ  “ลายผิววิทยา” คือการศึกษาความเชื่อมโยงของลายผิวกับการทำงานของสมอง ระบบประสาท จิตวิทยา พันธุกรรมศาสตร์ และพฤติกรรมศาสตร์ โดยมีการศึกษาค้นคว้าทางการแพทย์มานานกว่า 200 ปี ซึ่งข้อเท็จจริงของลายผิวมีอยู่ 3 ประการคือ 1.ลายผิวของทุกคนไม่เหมือนกัน 2.ลายผิวมีความสัมพันธ์กับสมอง 3.ลายผิวไม่เปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต ซึ่งผลการวิเคราะห์สามารถแสดงความเป็นตัวตน รวมถึงอุปนิสัย แรงจูงใจและวิธีที่ใช้ในการทำงานได้แม่นยำมากกว่า 85- 90%

ลายผิวของแต่ละคนเริ่มปรากฏตั้งแต่เป็นทารกอยู่ในครรภ์มารดา ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับการก่อเกิดสมองของทารก

ลายผิววิทยา  มีการศึกษามาเกือบ 200 ปี แล้ว ตั้งแต่ปี 1823 ทางตะวันออกมีการศึกษามาก่อน แต่ไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นทางการ  จึงมีแต่หลักฐานการศึกษาในยุโรป,อเมริกา คือ :

ปี คศ 1823 : นายแพทย์ Purkinje (ชาวเช็ก) มีวิทยานิพนธ์เล่มแรกเกี่ยวกับ Fingerprints

และแบ่ง Fingerprints ออกเป็น 9 แบบตามรูปแบบลายผิวที่แตกต่างกัน

ปี คศ.1892 : Galtonซึ่งเป็นนักมนุษยวิทยา ชาวอังกฤษ ลูกพี่ลุกน้องกับชาล์ส ดาร์วิน (ผู้ศึกษา วิวัฒนาการของมนุษย์ )ผู้สร้างทฤษฎีวิชา  Genetics (การคัดเลือกยีนส์และสืบต่อทางพันธุกรรม) ได้เขียนและตีพิมพ์หนังสือเล่มแรกเกี่ยวกับ Fingerprints อธิบายเกี่ยวกับลาย Arch,  Loop  และ Whorl

ปี คศ.1926 :  นักวิทยาศาสตร์ 2 คน คือ H.Cummins และ Midlo เป็นผู้บัญญัติศัพท์

ลายผิววิทยา ว่า “Dermatoglyphics.”          เป็นครั้งแรก

ปี คศ.1967 : มีการจัดประชุมระหว่างชาติขึ้นที่กรุงลอนดอน เกี่ยวกับผลวิจัย Dermatoglyphics  กฎต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เรื่องของ Ridge แลบะ Lines เป็นต้น

ศาสตร์นี้มีมากี่ปีแล้วในไทย

ประมาณ 15 ปี

มีผลการวิจัยอะไรมารองรับศาสตร์นี้หรือไม่

มีค่ะ มีงานวิจัยเกียวกับศาสตร์ลายผิวที่ศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างลายผิวที่นิ้วมือกับการทำงานของสมอง

ตัวอย่างงานวิจัยในต่างประเทศ เช่น

1.ค.ศ. 1823  Dr. John E Purkinji  แบ่งประเภทของลายผิวเป็น 9 แบบ  และค้นพบว่า ลายผิวเริ่มก่อตัวประมาณสัปดาห์ที่ 13 ในขณะที่อยู่ในครรภ์

  1. ค.ศ.1893 Sir Francis Galton นักมานุษยวิทยาได้ตีพิมพ์บทความวิชาเกี่ยวกับระบบแบบแผนลายนิ้วมือที่สามารถใช้ระบุตัวบุคคลได้หลักการนี้ยังคงถูกใช้อยู่ในทุกวันนี้

3.ค.ศ. 1926  Dr. Harold Cummins และ Dr. Charles Midlo  นิยามคำว่า “Dermatoglyphics” ซึ่งมาจากคำว่า Derma (ผิวหนัง) และ Glyph (รอยสลัก) Dr. Cummins ยังได้ถูกขนานนามว่าเป็นบิดาของลายผิววิทยา  งานวิจัยของเขาพบว่าคนที่เป็นโรคทางพันธุกรรม เช่น โรคในกลุ่มดาวน์ ลายมือจะมีลักษณะพิเศษ

  1. ค.ศ. 1832 Dr. Charles Bell เป็นศัลยแพทย์คนแรกที่ค้นพบความสัมพันธ์ของระบบประสาทของสมองกับลายนิ้วมือ

ตัวอย่างงานวิจัยในไทย เช่น

  1. การวิเคราะห์เปรียบเทียบลายพิมพ์นิ้วมือของบุคคลที่เป็นฝาแฝด
  2. ความสัมพันธ์ระหว่างแบบ ลายนิ้วมือและพหุปัญญา
  3. การระบุบุคคลด้วยลักษณะลายผิวของฝ่ามือจากกลุ่มที่คัดกรองด้วยเส้นหลัก

ทำไมต้องมาจากประเทศไต้หวัน

เพราะผู้ที่ก่อตั้งได้พบศาสตร์นี้จากงานแข่งหมากล้อมละได้พบกับทีมงานของเหลียนเหล่าซือและได้ทำการสแกนลายผิว จากผลการวิเคราะห์ที่มีความเที่ยงตรงและสามารถสะท้อนเกี่ยวกับลักษณะบุคลิกภาพและศักยภาพได้ รวมถึงได้มีการทดลองกับกลุ่มผู้บริหารระดับสูง ก็ได้รับผลเป็นที่น่าเชื่อถือ รวมทั้งทีมผู้ก่อตั้ง p-pac และผู้บริหารได้เดินทางไปดูงานของสถาบันการสแกนลายผิวของเหลียนเหล่าซือที่ไต้หวันเพื่อยืนยันความน่าเชื่อถือด้วย

P-PAC แตกต่างจากแบรนด์อื่นยังไง

P-PAC มีจุดแข็งในการอธิบายถึงลักษณะบุคลิกภาพ เชื่อมโยงกับศักยภาพ และการนำไปใช้

P-PAC แตกต่างจากดูดวงยังไง

P-PAC  เป็นการวิเคราะห์ศักยภาพและบุคลิกภาพที่ติดตัวมาตั้งต่เกิด โดยการสแกนลายผิว ใช้ลายผิวเส้นนูน และวิเคราะห์เชื่อมโยงกับการทำงานของสมอง   ต่างกับการดูดวงที่ใช้วันเดือนปีเกิดในการทำนายอนาคต

ลายผิวกับลายนิ้วมือแตกต่างกันยังไง

ลายผิวที่นิ้วมือและฝ่ามือเป็นเส้นนูน ลายผิวไม่เปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต    ส่วนลายมือเป็นร่อง และมีสามารถเปลี่ยนแปลงได้

ลายนิ้วมือไม่มีการเปลี่ยนแปลงจริงหรือ

ไม่เปลี่ยนแปลงเพราะมีการศึกษาวิจัย และใช้ทางด้านการแพทย์ ในการศึกษาเกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรม และทางด้านกฎหมายใช้ระบุตัวบุคคล

ประโยชน์ของการวิเคราะห์ในแต่ละช่วงวัย วัยเด็กเล็ก วัยเรียน วัยรุ่น วัยทำงาน ครอบครัว วัยสูงอายุ

ประโยชน์ที่ได้จากการวิเคราะห์ลายผิว

วัยเด็กเล็ก  เพื่อเข้าใจลักษณะนิสัยตามธรรมชาติ  พ่อแม่ทราบถึงวิธีการสื่อสารและการจัดสิ่งแวดล้อมในการเลี้ยงดูที่เหมาะสม  การส่งเสริมศักยภาพ ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด รวมถึงจุดอ่อนที่พ่อแม่เตรียมรับมือหรือหาวิธีการในการบริหารจัดการลูกในการเลี่ยงดูได้อย่างถูกต้อง

วัยเรียน  เพื่อเข้าใจลักษณะนิสัยตามธรรมชาติ  พ่อแม่ทราบถึงวิธีการสื่อสารและการจัดสิ่งแวดล้อมในการเลี้ยงดูที่เหมาะสม  การส่งเสริมศักยภาพ ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด รวมถึงจุดอ่อนที่พ่อแม่เตรียมรับมือหรือหาวิธีการในการบริหารจัดการลูกในการเลี่ยงดูได้อย่างถูกต้อง  และเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพ การจัดการเรียนการสอน ทราบถึงลักษณะการเรียนรู้และการรับรู้  การวางแผนการเรียน

วัยรุ่น  เพื่อเข้าใจลักษณะนิสัยตามธรรมชาติ การสือ่สาร  การส่งเสริมศักยภาพ ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด รวมถึงจุดอ่อนที่พ่อแม่เตรียมรับมือหรือหาวิธีการในการบริหารจัดการลูกในการเลี่ยงดูได้อย่างถูกต้อง

วัยทำงาน เพื่อเข้าใจตนเอง ค้นหาศักยภาพ ทราบถึงจุดแข็งและจุดอ่อนในตนเอง ครอบครัว เพื่อความเข้าใจซึ่งกันและกัน การสื่อสารของคนในครอบครัว การส่งเสริมความสัมพันธภาพ และการพัฒนาศักยภาพที่ทุกคนมองเห็นทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน  จะได้เข้าใจ และช่วยสนับสนุนกันในครอบครัว  ในบทบาทของแต่ละคน โดยเฉพาะคุณพ่อ คุณแม่ที่มีลูกๆ ต้องดูแล

วัยสูงอายุ  เพื่อเข้าใจตนเอง ตนเอง ครอบครัว เพื่อความเข้าใจซึ่งกันและกัน การสื่อสารของคนในครอบครัว การส่งเสริมความสัมพันธภาพ  จะได้เข้าใจและช่วยสนับสนุนกันในครอบครัว  ในบทบาทของแต่ละคน   รวมทั้งค้นหาศักยภาพที่ยังไม่ได้ใช้  หรือมองหากิจกรรมที่ทำได้ดีและมีความสุขในวัยเกษียณ

ความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน

85% จากแบบประเมินผลความพึงพอใจของลูกค่า

มีคนที่มาฟังแล้วไม่ตรงหรือไม่

มีค่ะ เพราะปัจจัยที่กระทบต่อผลของความแม่นยำมีได้เช่น ปัจจัยการเลี้ยงดู การฝึกฝน และความสามารถในการประเมินและระยะเวลาในการสำรวจตนเอง

อายุเท่าไหร่ที่ควรมาทำการวิเคราะห์

รับอายุ 2 ขวบขึ้นไปเพราะลายผิวจะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ทำไมต้องเริ่มที่ 2 ปี เด็กกว่านี้สแกนได้หรือไม่

รับอายุ 2 ขวบขึ้นไปเพราะลายผิวจะมีความชัดเจนมากกว่า

ทำไมเด็ก 2-12 ปีต้องพิมพ์หรือสแกนฝ่าเท้า ผลไปขึ้นตรงไหน

ฝ่าเท้าจะสะท้อนถึงระบบการทำงานของสมองและประสาทสัมผัส ผลไม่ออกในรายงานแต่               นักวิเคราะห์จะใช้ประกอบการวิเคราะห์ในห้อง

ทำไมผู้ใหญ่ไม่ต้องพิมพ์หรือสแกนฝ่าเท้า

ลายฝ่าเท้าจะสะท้อนถึงระบบการทำงานของประสาทสัมผัสซึ่งหากต้องการการพัฒนาเสริมสามารถ พัฒนาได้ดีกว่าในวัยเด็กก่อน 12 ปี

การวิเคราะห์ตอนเด็กกับผู้ใหญ่แตกต่างกันอย่างไร

เนื้อหาของรายงานต่างกันเล็กน้อยในเรื่อง หากเป็นรายงานเด็กจะขึ้นเป็นการพัฒนาศักยภาพโดยกำเนิดเพื่อเน้นการกระตุ้นเสริมก่อน  หากเป็นรายงานผู้ใหญ่จะเน้นเรื่องความเข้าใจของตัวตนและบุคลิกภาพก่อน

ตารางศักยภาพสามารถรู้ความถนัดได้กี่เปอร์เซนต์

ตารางศักยภาพสามารถอธิบายความถนัดของผู้นั้นเป็นสำคัญและจะเน้นเรื่องการเรียนรู้และเข้าใจตนเอง ไม่เปรียบเทียบออกกับผู้อื่น โดยลักษณะของลายผิวทั่วไปจะเป็นการประเมินศักยภาพ 10 ด้านทั้งหมด กับอัตตราส่วนภายในตนเอง

กรณีสแกนไปนานแล้ว ด้าต้อเบสก็เพิ่มขึ้น เราต้องมาสแกนใหม่หรือไม่ แล้วผลการวิเคราะห์จะเปลี่ยนหรือไม่

ไม่เปลี่ยนแปลงแม้มีดาต้าเบสเพิ่มขึ้น

เปอร์เซนต์ของค่า PR ที่นับจากประชากร 100 คน ค่าสถิติปัจจุบันยังเป็น 100 คนอยู่หรือไม่อย่างไร มีการขยายค่าของประชากรหรือไม่อย่างไร

ปัจจุบันทางไต้หวันแจ้งว่ายังไม่มีการเปลี่ยนแปลง

. เป็นไปได้หรือไม่ว่าความชอบของเด็กไม่ตรงกับศักยภาพที่วิเคราะห์มาและเกิดจากสาเหตุอะไร

เป็นไปได้ทั้งนี้เกิดขึ้นได้เพราะลายผิววิทยาไม่สามารถประเมินสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ที่พบเจอได้

หากความชอบความสนใจไม่ตรงกับศักยภาพที่วิเคราะห์มา ควรจะเลือกมุ่งเน้นไปทางไหน เพราะอะไร

แนวโน้มงานวิจัยได้สะท้อนให้เห็นว่าเมื่อเราเติบโตมากยิ่งขึ้นสิ่งที่เป็นตัวตนจะยิ่งฉายแววชัดเจนขึ้น

กรณีมีนกหลายตัว แต่ละตัวมีกี่เปอซ็นต์

เราจะให้น้ำหนักกับตัวหลักมากที่สุด

. เป็นนกประเภทไหนดีกว่ากัน

นกแต่ละประเภทมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป ไม่ได้มีนกประเภทไหนดีกว่ากัน เพียงแต่เราต้องเข้าใจ

คนนึงมีนกสูงสุดได้กี่ตัว

สูงสุดที่เคยเจอคือ 4 ตัว

ทำไมนกแก้วจึงไม่เป็นนกรอง

เพราะนกแก้วเป็นนกที่มีความยิดหยุ่นและปรับตัวได้ตามสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี

สแกนแล้วดูเรื่องของความผิดปกติ เช่น ออทิสติก หรือ สมาธิสั้นได้หรือไม่

สามารถดูได้ และได้เคยทำงานวิจัยเกี่ยวกับเด็กๆ ออทิสติก หรือสมาธิสั้น แต่ถึงอย่างไรเราไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ จังแนะนำให้ปริกษาแพทย์

เด็กพิเศษสแกนได้หรือไม่ และผลที่ออกมาจะตรงกับตัวเขาหรือไม่อย่างไร?

สามารถสแกนได้ แต่ในเด็กบางคนมีภาวะ Learning Disorder อาจส่งผลให้ไม่สามารถแสดง ศักยภาพตามตารางออกมาได้อย่างชัดเจน

ลายผิวสามารถดูเรื่องของภาวะซึมเศร้าได้มั๊ยอย่างไร

ได้ แต่ทางเรายังไม่ได้นำเข้ามาใช้ในการวิเคราะห์

ถ้าเด็กที่มามีปัญหาทางพฤติกรรม เช่นติดเกมส์ ก้าวร้าว แล้วนา P-PAC ไปใช้ ในการปรับพฤติกรรมได้ยังไงบ้าง

ทำให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงแนวโน้มสาเหตุของพฤติกรรม และแนะแนวทางแก้ไข้

ถ้าสังเกตเห็นว่ามีเด็กพิเศษมาเข้ารับบริการ จะโน๊ตหรือแจ้งนักวิเคราะห์อย่างไร หรือควรสอบถามนักวิเคราะห์เพิ่มเติมอย่างไร

ในเบื้องต้นให้ปั๊มลายฝ่าเท้าเพิ่มเติม(ไม่ว่าลูกค้าจะอายุเท่าไร)