Cpall, PPAC, ค้นหาตัวตน, ค้นหาศักยภาพ, วิเคราะห์ศักยภาพ, สแกนลายนิ้วมือ, สแกนลายผิว

คนถนัดสมองซ้ายและสมองขวามีความแตกต่างกันอย่างไร

เคยสงสัยกันไหมคะว่า ?

  • สมองทั้ง 2 ซีก ทำงานต่างกันอย่างไร
  • สมองซีกไหนมีความสำคัญมากกว่ากันนะ
Cpall, PPAC, ค้นหาตัวตน, ค้นหาศักยภาพ, วิเคราะห์ศักยภาพ, สแกนลายนิ้วมือ, สแกนลายผิว
Cpall, PPAC, ค้นหาตัวตน, ค้นหาศักยภาพ, วิเคราะห์ศักยภาพ, สแกนลายนิ้วมือ, สแกนลายผิว


คนเรามีสมองกันอยู่สองซีก คือ #ซีกซ้าย กับ #ซีกขวา โดยความเชื่อและความเข้าใจของคนทั่ว ๆ ไปมักจะเข้าใจว่าสมองซ้ายต้องเรียนสายวิทย์ สมองขวาต้องเรียนสายศิลป์ และมักจะนำมาใช้เป็นแนวทางวางแผนการเรียน แต่หากย้อนกลับมาทำความเข้าใจเรื่องสมองให้มากขึ้นก็จะพบว่าความถนัดของสมองซีกซ้ายและซีกขวามีอิทธิพลในกระบวนการเรียนรู้ ความเข้าใจ การเปิดรับการเรียนรู้ของคนคนนั้น วิธีการหรือรูปแบบทางความคิดที่แตกต่าง อาจจะทำให้ครูผู้สอน คุณพ่อคุณแม่ เพื่อนร่วมงาน คู่รัก รวมถึงตัวเราเองได้มีแนวทางในการบริหารการสื่อสาร การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงช่วยทำให้มีความสุขกับการเรียนรู้ และการวางแผนการเรียนที่เหมาะสมกับสไตล์ของแต่ละคน


เราลองมาทำความเข้าใจลักษณะของคนสมองซ้ายสมองขวากันก่อนนะคะ คนที่มีการทำงานของสมองที่โดดทางด้านซ้ายและด้านขวามีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร

  • ลักษณะของคนสมองขวา เป็นคนเปิดรับต่อการเรียนรู้ มีอารมณ์สุนทรีย์ การเข้าใจการเปลี่ยนแปลง สังคม อารมณ์ การปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม และมักจะมีการใช้ความคิดเป็นภาพ ชอบบริหารข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ใช้การคิดเป็นภาพเพื่อจดจำสิ่งของ การจดโน้ต หรือการวาดภาพช่วยความจำ มองภาพรวมก่อนลงรายละเอียด มีอิสระทางความคิด ไม่ยึดติดกรอบหรือแบบแผน ทำตามสัญชาตญาณ หรือความหยั่งรู้ที่นำโดยอารมณ์ นำไปประมวลผลข้อมูลพร้อม ๆ กันสิ่งที่เป็นข้อควรระวังคือ ไม่ยึดติดแบบแผน ไม่ชอบอยู่ในกรอบและการจัดการอย่างเป็นระเบียบ กฎเกณฑ์ที่เคร่งครัด มีอิสระทางความคิด อารมณ์มีผลกับการคิดและตัดสินใจ
  • ลักษณะของคนสมองซ้าย เป็นคนที่มีกรอบหลักการ เหตุและผลในการคิดและการตัดสินใจ การดำเนินชีวิตมีแบบแผน การเปิดรับต่อการเรียนรู้ต้องผ่านกระบวนการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ตามกรอบหลักการที่พิสูจน์ได้ เน้นการคิดที่มีระบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเหตุผลก่อนการสื่อสาร และการใช้ภาษาในการถ่ายทอด มักวิเคราะห์ทุกอย่างตามหลักตรรกะ เหตุผล และมีการใช้สัญลักษณ์เป็นตัวเลข มักไม่แสดงอารมณ์ผ่านภาษากาย

สิ่งที่เป็นข้อควรระวัง คือ เปลี่ยนความคิดยาก เชื่อมั่นในกรอบหลักการเหตุผลสูง มองทุกอย่างแบบมีเหตุ-ผล ผิด-ถูก เพื่อตัดสินเห็นความแตกต่างของคนสมองซ้ายและสมองขวาแล้วใช่มั้ยคะ พอจะมองเห็นแนวทางในการใช้วิธีการสื่อสาร การสอน การวางแผนชีวิตกันแล้วใช่มั้ยคะ ว่าจะมีทิศทางอย่างไร โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ หากมีลูกเป็นเด็กสมองซ้ายอย่าลืมนะคะว่าจะต้องใช้วิธีการสื่อสารและการเลี้ยงดูต้องปฏิบัติอย่างมีเหตุมีผล มีข้อมูล มีกระบวนการ หรือแบบแผนที่ชัดเจน สร้างความเข้าใจเพื่อให้เด็กยอมรับก่อน จะดีกว่าการบังคับหรือใช้อารมณ์ในการเลี้ยงดู ส่วนคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเป็นเด็กสมองขวา ก็ต้องเน้นบรรยากาศที่ไม่ตึงเครียด การสื่อสารที่สบาย ๆ หรือมีสีสรร สนุกสนาน การบริหารความรู้สึก สร้างสรรค์กิจกรรมให้เด็กมีอารมณ์ร่วม มีความรู้สึกสนุกในการเรียนรู้จะทำให้เด็กเปิดรับต่อการพัฒนาส่งเสริม ไม่กดดัน หรือมีกรอบปฏิบัติจนเด็กไม่มีความสุข ซึ่งทำให้ขาดแรงจูงใจในการเรียนรู้ ในทุก ๆ ด้านคุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตลูก ๆ กันดูค่ะ ว่ามีความโดดเด่นของสมองด้านไหน ลองนำวิธีการที่แนะนำข้างต้นไปใช้กันนะคะ หรืออยากได้คำตอบเร็วขึ้น ลองมา สแกน ที่ P-PAC อาจจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจลูกได้มากขึ้นว่าเขาเป็นเด็กสมองซ้ายหรือเด็กสมองขวาค่ะ

โดย คุณอ้อย พัชราภรณ์ คงสวัสดิ์ – นักวิเคราะห์ศักยภาพ P-PAC

บทความอื่นๆ Click link

Leave a comment