Cpall, PPAC, ค้นหาตัวตน, ค้นหาศักยภาพ, วิเคราะห์ศักยภาพ, สแกนลายนิ้วมือ, สแกนลายผิว

พ่อแม่ต้องรู้ สอนลูกจับดินสออย่างไรให้ถูกต้อง


การให้เด็ก ๆ จับดินสอได้อย่างถูกต้องและถูกวิธีก็เป็นศิลปะการสอนอย่างหนึ่งที่พ่อแม่ต้องเข้าใจและเรียนรู้ถึงพัฒนาการตามช่วงวัยของเด็ก ๆ ด้วยค่ะ คุณพ่อคุณแม่อาจจะเคยสังเกตว่าตอนลูกเล็ก ๆ ลูกจะใช้วิธีกำดินสอและเคลื่อนไปทั้งมือและแขน แต่พอลูกโตขึ้นการจับดินสอก็เปลี่ยนไป แน่นอนว่าต้องเป็นการร่วมด้วยช่วยกันของคุณพ่อคุณแม่ที่จะช่วยลูกฝึกจับดินสอได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

Cpall, PPAC, ค้นหาตัวตน, ค้นหาศักยภาพ, วิเคราะห์ศักยภาพ, สแกนลายนิ้วมือ, สแกนลายผิว

ช่วงก่อนวัยเรียนและชั้นอนุบาลเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการช่วยแก้ไขการยึดติดการจับดินสอของเด็ก ๆ เพราะยังอยู่ในช่วงวัยของการเริ่มต้นและการเรียนรู้อยู่ค่ะ


แม้ว่าจะไม่มีวิธีที่ถูกหรือผิดในการจับดินสออย่างแน่ชัด แต่วิธีการจับดินสอแบบ “การจับ 3 นิ้ว” (Tripod Grasp) ซึ่งเป็นการจับดินสอโดยใช้นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลางให้เป็นรูปสามเหลี่ยม โดยใช้นิ้วนางและนิ้วก้อยรองรับนิ้วกลางอีกที นับว่าเป็นวิธีการจับดินสอที่ได้รับความนิยมเพราะช่วยให้เด็ก ๆ สามารถควบคุมดินสอได้ดีขึ้น ช่วยให้เขียนได้สบายและเขียนได้นานขึ้นอีกด้วย ซึ่งเด็ก ๆ ควรตั้งเป้าที่จะใช้วิธีการจับแบบนี้เมื่ออายุประมาณ 5-6 ปี โดยหลีกเลี่ยงการกำหมัดหรือกำดินสอแน่นเกินไป เพราะหากพวกเขาจับแน่นเกินไป พวกเขามักจะทำให้ไส้ดินสอหักและทำให้กระดาษเป็นรู ซึ่งจะทำให้พวกเขาหงุดหงิดมาก และการยึดจับแน่นเกินไปก็อาจทำให้เกิดตะคริวที่มือและนิ้วส่งผลต่อระยะเวลาที่เขียนได้


วันนี้ P-PAC มีเทคนิคง่าย ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปใช้เพื่อช่วยให้ลูก ๆ เรียนรู้การจับดินสอ แบบ “การจับ 3 นิ้ว” (Tripod Grasp) ได้อย่างถูกต้องกันค่ะ ซึ่งการจับดินสอไม่ได้เป็นเพียงการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้ออย่างเดียวเท่านั้นนะคะ แต่ยังรวมถึงการพัฒนากล้ามเนื้อด้วยค่ะ เรามาลองดูกันนะคะว่ามีเทคนิคอะไรกันบ้าง

  • ยางฝึกจับดินสอ: อุปกรณ์ที่สวมใช้กับดินสอเพื่อให้การวางนิ้ว การเขียนสะดวกขึ้น ซึ่งเราอาจเคยเห็นยางฝึกจับดินสอรูปแบบและรูปทรงต่าง ๆ มีทั้งแบบนิ่มแบบแข็ง ยางฝึกจับดินสอเหล่านี้ถูกออกแบบให้เหมาะกับมือและนิ้วมือของเรา ทำให้การวางนิ้วมืออยู่ในลักษณะที่ถูกต้องและเหมาะสมโดยเฉพาะรูปทรงสามเหลี่ยมที่ทำให้การจับดินสอง่ายและสะดวกขึ้น
  • ดินสอรูปสามเหลี่ยม: รูปทรงสามเหลี่ยมของดินสอจะช่วยให้เด็ก ๆ รู้ว่าจะวางนิ้วไว้ที่ใด ทำให้เกิดความสะดวกเวลาเขียนและเหมาะกับเด็กที่ไม่ถนัดการใช้ยางฝึกจับดินสอด้วย
  • เล่าเรื่องรถเปรียบเทียบกับการจับดินสอ: สอนการจับดินสอให้เป็นเรื่องสนุก ๆ เหมือนคนในครอบครัวกำลังนั่งอยู่ในรถ พ่อกับแม่อยู่ข้างหน้า ลูกสามคนอยู่ข้างหลัง โดยให้ลูกลองนึกภาพและทำตาม การวางฉากที่สนุกสนานและสัมพันธ์กันจะช่วยให้เด็ก ๆ จดจำและทำความเข้าใจได้
  • ให้เวลาและใช้ความอดทน: เพียงแค่คุณพ่อคุณแม่ลองเขียนอะไรสักอย่างนาน ๆ เพื่อดูว่าเราจะเมื่อยมือเร็วขนาดไหน แล้วลองนึกภาพว่าคุณพ่อคุณแม่ไม่เคยหยิบดินสอขึ้นมาก่อนเลย ลองคิดในทางกลับกันนะคะว่ากล้ามเนื้อของเราจะต้องใช้พลังและความพยายามอย่างรวดเร็วขนาดไหนเพื่อจับสิ่งที่ดูเหมือนจะง่าย หากคุณพ่อคุณแม่รู้สึกอย่างไรหลังจากการเขียนต่อเนื่องประมาณ 15 นาที น่าจะเป็นความรู้สึกของเด็ก ๆ ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งการฝึกฝนจะช่วยพัฒนากล้ามเนื้อของพวกเขาได้อย่างต่อเนื่อง
  • เป็นตัวอย่างให้ลูก: คุณพ่อคุณแม่อาจจะใช้เวลาร่วมกันในการเขียน การวาดรูป การระบายสีกับลูก ๆ ให้มากขึ้น ยิ่งพวกเขาเห็นว่าคุณพ่อคุณแม่มีวิธีการจับอย่างไร พวกเขาก็จะยิ่งทำตามคุณพ่อคุณแม่ที่เป็นเหมือนผู้นำหรือต้นแบบของเขามากขึ้นเท่านั้น

แต่คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมนะคะ ว่าเด็กทุกคนมีความแตกต่างกัน เด็ก ๆ อาจจะชอบหรือไม่ชอบการใช้ยางฝึกจับสินสอ อาจจะชอบหรือไม่ชอบดินสอสามเหลี่ยม แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องแน่ใจว่าลูกสามารถจับดินสอได้อย่างสบายในลักษณะที่ช่วยให้พวกเขาเขียนตัวอักษรต่าง ๆ และสามารถเขียนได้นานเท่าที่ต้องการ เพราะปัจจุบันในยุคของเทคโนโลยีที่เด็ก ๆ ใช้นิ้วในการปัดเลื่อนหน้าจอ การคลิก การพิมพ์ได้อย่างง่ายดาย ยิ่งทำให้ศิลปะการเขียนด้วยลายมือเป็นสิ่งที่ล้ำค่าที่เราต้องส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจให้กับลูกเพื่อยังให้ “การเขียนด้วยลายมือ. ที่อาจถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละคนให้คงอยู่ตลอดไป

บทความอื่นๆ Click link

Leave a comment