cpall, PPAC, ค้นหาตัวตน, ค้นหาศักยภาพ, วิเคราะห์ศักยภาพ, สแกนลายนิ้วมือ, สแกนลายผิว

เทคโนโลยีที่น่าทึ่ง😮😮😮

cpall, PPAC, ค้นหาตัวตน, ค้นหาศักยภาพ, วิเคราะห์ศักยภาพ, สแกนลายนิ้วมือ, สแกนลายผิว

ตอนที่ 1 เทคโนโลยีที่น่าทึ่ง

ปลายปี พ.ศ.2550 ช่วงระหว่างการแข่งขันหมากล้อมอุดมศึกษา และเอเชี่ยนโกะทัวร์นาเม้นท์ที่จังหวัดขอนแก่น อาจารย์หมากล้อมชาวไต้หวันได้แนะนำให้ผมรู้จักกับสุภาพสตรีสองท่าน โดยสุภาพสตรีทั้งสองมาขออนุญาตเก็บตัวอย่างลายนิ้วมือของนักหมากล้อมเยาวชนทั้งหมดที่เข้าร่วมการแข่งขัน นัยว่าต้องการเก็บตัวอย่างศึกษาหาลักษณะร่วมของลายนิ้วมือนักหมากล้อม ด้วยความเคลือบแคลงสงสัย ผมจึงได้ขอให้ทดลองกับตัวผมเองก่อนขั้นตอนการเก็บตัวอย่างก็ไม่ยาก เพียงแค่สแกนลายนิ้วมือทั้งสิบนิ้ว และพิมพ์ลายฝ่ามือ ส่งข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ตีพิมพ์ออกมาเป็นรายงานเหมือนโปรแกรมทั่ว ๆ ไป แต่เมื่อสุภาพสตรีทั้งสองนำรายงานมาสรุปให้ฟังก็เกิดความพิศวง เพราะสามารถวิเคราะห์ความเป็นตัวตนของผม ทั้งอุปนิสัย แรงจูงใจ และวิธีการทำงานของผมได้ถึง 80-90% ทั้งที่เพิ่งเจอกันเป็นครั้งแรกด้วยความสนใจผสมกับยังต้องการข้อพิสูจน์ ผมจึงได้ให้ทดลองโดยสุ่มตัวอย่างจากผู้บริหารในบริษัท ผลปรากฏว่าแต่ละคนต่างรู้สึกทึ่ง ยอมรับในความแม่นยำ และคิดต่อยอดกันไปว่า จะนำมาเป็นเครื่องมือในงานบุคคลได้ แต่ก็ยังสงสัยกันอยู่ว่จะเป็นพวกโปรแกรมหมอดูหรือเปล่า เพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจนจึงได้มอบหมายให้ทีมงานไปท้าพิสูจน์กันถึงถิ่นที่ไต้หวัน ศึกษาลงรายละเอียดกันอย่างจริงจัง และการเดินทาง

ครั้งนั้น ทำให้ได้พบกับอาจารย์เหลียนอี้ว์ซิง (连裕兴) ผู้ก่อตั้งบริษัทฯ ซึ่งมีประสบการณ์ในด้านการค้นคว้าวิจัยเรื่องลายผิววิทยากับศักยภาพของมนุษย์มาสิบกว่าปี สะสมฐานข้อมูลจากการวิจัยกรณีศึกษามากกว่าสามแสนราย อาจารย์เหลียนเล่าให้ฟังว่า ตนเองนั้นจบปริญญาตรีด้านวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า เดิมเป็นอาจารย์สอนคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเมืองเกาสงในไต้หวัน ขณะเดียวกันก็รับผิดชอบด้านงานบุคคลขององค์กร เมื่อได้สัมผัสงานบุคคลมากขึ้นอาจารย์เหลียนก็พบว่าในการสัมภาษณ์แต่ละครั้ง หรือแม้แต่การทดสอบด้วย Questionnaire ก็ตาม ผู้ถูกสัมภาษณ์มักจะตอบคำถามโดยมีวัตถุประสงค์แอบแฝงเพราะไม่กล้าตอบตามความต้องการที่แท้จริง หรือตอบคำถามเอาใจผู้สัมภาษณ์เพื่อให้ได้งาน ผลลัพธ์ก็คือได้คนที่ไม่ตรงตามความต้องการขององค์กรอย่างแท้จริง บางคนเข้ามาแล้วไม่สามารถปรับตัวเข้ากับองค์กรได้ ทำงานอยู่ไม่นานก็ลาออกไป หรือบางคนแย่ยิ่งกว่านั้นคือสร้างความเสียหายให้แก่องค์กร ด้วยเหตุนี้ อาจารย์เหลียนจึงได้ศึกษาคันคว้าเพื่อหาเครื่องมือที่จะแยกแยะตัวตนที่แท้จริงของแต่ละคน โดยขจัดปัจจัยทั้งภายใน และภายนอก เช่น อคติ รูปร่างหน้าตา (ของทั้งผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์) ออกไปให้มากที่สุด และได้พบว่าในโลกนี้สิ่งที่สามารถแยกแยะตัวบุคคลแต่ละคนได้ชัดเจนที่สุดมีอยู่สองอย่าง นั่นคือ DNA (Deoxyribonucleic Acid) และลายนิ้วมือ (Finger Print) ของแต่ละคน ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง แต่เมื่อสิบกว่าปีก่อนนั้นยังเป็นเรื่องใหม่พอสมควร อาจารย์เหลียนได้เลือกศึกษาเรื่องลายผิววิทยา (Dermatoglyphics) ซึ่งครอบคลุมลายผิวทั้งบนนิ้วมือ ฝ่ามือ รวมถึงฝ่าเท้าของมนุษย์ เนื่องจากมีรายงานผลการศึกษาด้านการแพทย์หลายฉบับที่ยืนยันความเชื่อมโยงของลายผิวที่ฝ่ามือกับโรคทางสมอง และทางพันธุกรรม

ในสิบกว่าปีที่ผ่านมา อาจารย์เหลียนศึกษาวิจัยด้านลายผิววิทยาเปรียบเทียบกับการทำงานของระบบประสาท จิตวิทยา และพฤติกรรมศาสตร์ รวมถึงได้ศึกษาลึกลงถึงความเชื่อมโยงของลายผิววิทยากับความบกพร่องของการทำงานระบบประสาท เช่น ในกลุ่มโรคออทิสซึ่ม (Autism) และกลุ่มที่มีความบกพร่องในทักษะการเรียนรู้เฉพาะด้าน (Learning Disabilities) นอกจากขยายผลในด้านงานบุคคลแล้ว อาจารย์ยังได้ขยายผลในด้านแนะแนวการศึกษาสำหรับเยาวชนอีกด้วยปัจจุบัน อาจารย์เหลียนเดินสายบรรยายถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่สนใจ

และเมื่อปี ค.ศ. 2002 อาจารย์เหลียนได้แต่งหนังสือชื่อ “Extra-ordinary Advice” แนะนำความรู้เบื้องต้นด้านลายผิววิทยา หนังสือเล่มนี้ติตอันตับหนึ่งของหนังสือขายดีในไต้หวัน และเป็นหนังสือแนะนำให้อ่านโดยหอสมุดแห่งชาติไต้หวัน ขณะที่อาจารย์เหลียนเองก็ยังเป็นที่ปรึกษาด้านงานบุคคลให้แก่องค์กรหลายแห่ง และไม่ได้จำกัดแต่เพียงในไต้หวันเท่านั้น ยังเป็นที่ยอมรับทั้งในสิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง และประเทศจีน จึงเป็นการพิสูจน์ความน่าเชื่อถือของการวิเคราะห์ด้วยลายผิววิทยาหรือที่ฝรั่งเรียกว่า “Dermatoglyphics”

ในวันที่เราบุกไปเยี่ยมสำนักงานของอาจารย์เหลียนถึงเกาะไต้หวันอาจารย์เหลียนได้สาธิตการวิเคราะห์รายงานให้แก่คณะที่ร่วมเดินทางอย่างลงลึกถึงความลับของแต่ละคน ด้วยความเป็นเจ้าสำนักผู้ก่อตั้ง จึงมีวิชาลึกล้ำกว่าสุภาพสตรีสองท่านที่มาเมืองไทยก่อนหน้า อย่างทีมงานคนหนึ่งที่ทุกวันนี้ยังเอ้อระเหยลอยชายสนุกสนานกับความเป็นชายโสดอาจารย์เหลียนวิเคราะห์บุคลิกไว้ว่าเป็นคนประเภทประนีประนอม จะหาช่องว่างหลีกเลี่ยงการตัตสินใจเลือกข้าง ถ้าถามว่าจะเลือกน้ำชา หรือกาแฟ เจ้าตัวก็จะเอาน้ำอัดลมซะนี่ การรับมือกับบุคคลในลักษณะเช่นนี้ทำได้ไม่ยาก แค่จำกัดเงื่อนไข และอย่าให้เขาคิดนาน ยิ่งปล่อยให้มีทางเลือกมากก็จะคิดเปรียบเทียบหาทางออกไปเรื่อย เป็นพวกคิดตรึกตรองมากเกินเหตุ แต่ข้อดีของคนที่คิดมากเช่นนี้ก็มีอยู่ เพราะสามารถให้ดูแลงานที่ต้องการความรอบคอบ เช่น วางแผนกลยุทธ์ ศึกษาความเสี่ยงทางธุรกิจ เป็นต้น หนึ่งวันเต็มที่ทีมงานลงรายละเอียด และพิสูจน์ความน่าเชื่อถือของลายผิววิทยาผ่านการนำเสนอของอาจารย์เหลียน ทำให้เกิดมุมมองมิติใหม่ต่อศาสตร์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประโยชน์เชื่อมโยงกับการฝึกอบรมพนักงาน การบริหาร และการสื่อสารในองค์กร จึงเป็นที่มาของ “ศูนย์วิเคราะห์ศักยภาพปัญญธารา” หรือ “P-PAC” (Panyatara Potential Analysis Centre) ในวันนี้

คัดลอกมาจากหนังสือ CEO กับความรัก บทที่ 14

อ่านต่อ ตอนที่ 2 กว่าจะมาเป็น P-PAC   Click Link

อ่านบทความอื่นๆ Click link

Leave a comment