ประโยชน์ของ P-PAC ต่อสังคมส่วนรวม
ลายผิววิทยานอกจากสามารถนำมาใช้ในงานทรัพยากรบุคคลและ
การศึกษาแล้ว ยังสามารถใช้ในการตรวจสอบความผิดปกติของระบบ
ประสาท เนื่องจากลายผิวบนฝ่ามือและฝ่าเท้ามีความสัมพันธ์กับโครโม-
โซม และการพัฒนาของสมองในช่วงที่ยังอยู่ในครรภ์ การแพทย์ในปัจจุบัน
มีการศึกษารูปแบบที่เหมือนกันของเด็กพิเศษ เช่น กลุ่มอาการดาวน์-
ซินโดรม กลุ่มออทิสซึ่ม โดยในปี ค.ศ. 1930 ได้มีการศึกษาลายมือ
และลายนิ้วมือของผู้ป่วยโรคพันธุกรรมในกลุ่มอาการบกพร่องทางสมอง
แต่กำเนิด พบว่าเส้นลายนิ้วมือสามารถบ่งบอกอาการบกพร่องทางสมอง
แต่กำเนิดได้ และต่อมาได้มีผลการวิจัยพิสูจน์ได้ว่าผู้ป่วยในกลุ่มดาวน์-
ซินโดรม จะมีเส้นลายมือในลักษณะพิเศษ ทำให้สามารถวินิจฉัยโรค
ในเด็กแรกเกิดที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของโครโมโซมได้ และเป็น
ที่ยอมรับทางการแพทย์แล้วว่าลายผิววิทยาสามารถช่วยบ่งชี้โรคอื่นๆ ได
เช่น โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว การศึกษาวิชา
“Dermatoglyphics” จึงได้ถูกบรรจุในหลักสูตรแพทยศาสตร์ของหลาย
ประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยในประเทศเยอรมันนี เป็นตัน
อาจารย์เหลียนเองซึ่งปัจจุบันได้เปิดสำนักงานใหม่ในกรุงปักกิ่ง
ประเทศจีนระบุว่า ในประเทศจีนนั้นหนึ่งในสามของเด็กที่เข้ามาวิเคราะห์
กับอาจารย์เหลียน มีอาการผิดปกติของระบบประสาท ซึ่งความผิดปกติ
ในเด็กกลุ่มนี้หากเราสามารถบ่งชี้ได้เร็วเท่าใดก็ยิ่งเป็นประโยชน์ในการ
บำบัดรักษา และพัฒนาเด็กได้อย่างเหมาะสม แม้ว่าจะไม่สามารถฟื้นฟู
ให้กลับสู่ปกติได้ แต่ก็เพื่อให้เด็กพิเศษเหล่านี้สามารถช่วยเหลือตนเอง
ได้บ้างในชีวิตประจำวัน เป็นการแบ่งเบาภาระให้แก่ผู้ปกครองในทางหนึ่ง
นอกจากประโยชน์ในการดูแลเด็กกลุ่มพิเศษแล้ว ลายผิววิทยายัง
สามารถนำมาช่วยวิเคราะห์ด้านจิตวิทยาได้อีกด้วย เพราะบางครั้งปัญหา
ภาวะผิดปกติทางจิตก็เป็นอุปสรรคต่อการเรียนหรือพัฒนาการของเด็ก
ได้เช่นกัน จากการศึกษาของอาจารย์เหลียนในปัจจุบันพบว่าหลายกรณี
เกิดเพราะภาวะความกดดันจากปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งมักจะ
เกิดมากในกลุ่มเด็กที่มีสมองซีกขวาโดดเด่นกว่าซีกซ้าย และกลุ่มบุคลิก
แบบนกยูง เนื่องจากทั้งสองกลุ่มนี้มีการตอบสนองทางอารมณ์ที่อ่อนไหว
เป็นพิเศษกว่ากลุ่มอื่นๆ ผมมีกรณีตัวอย่างของนักศึกษาหญิงคณะแพทย์
ที่ประเทศไต้หวันมาเล่าให้ฟัง นักศึกษาคนนี้เดิมเป็นคนสนุกสนานร่าเริง
มีความมั่นใจในตนเองสูง เรียนดีจนสามารถสอบเข้าคณะแพทย์ศาสตร์
ได้ แต่อยู่ๆก็กลายเป็นคนเก็บเนื้อเก็บตัวไม่พูดไม่จา กลายเป็นคนมี
ปัญหาทางจิตจนต้องขอพักการเรียนไว้ก่อน พ่อแม่พาไปปรึกษากับอาจารย์
เหลียนเพราะไปหาจิตแพทย์แล้วก็ยังไม่ได้ผล ผลวิเคราะห์ออกมาบอกว่า
เด็กคนนี้มีบุคลิกเป็นแบบนกยูง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องการการยอมรับจาก
สังคุม และมีอารมณ์อ่อนไหวมาก คิดอย่างไรก็แสดงออกอย่างตรงไป
ตรงมา ให้ลองสืบดูว่ามีปัญหาอะไรในชั้นเรียนหรือไม่
ปรากฏว่า นักศึกษาคนนี้เคยถูกอาจารย์กล่าวตำหนิอย่างรุนแรง
ในชั้นเรียนต่อหน้าเพื่อนๆ เรื่องการแต่งกายที่มีสีสันฉูดฉาดเหมือนมา
เดินแบบมากกว่าจะมาเรียนหนังสือ และยังถูกไล่กลับไปเปลี่ยนเสื้อมาใหม่
ค่อยเข้าชั้นเรียน ปัญหาอาจดูไม่รุนแรงใหญ่โตสำหรับคนอื่นๆ แต่สำหรับ
กลุ่มนกยูงที่อารมณ์อ่อนไหวและกลัวถูกปฏิเสธจากสังคมแล้ว มันรุนแรง
เพียงพอที่จะทำร้ายจิตใจอย่างแสนสาหัส ดังนั้นการปฏิบัติต่อเด็กที่มี
พฤติกรรมแปลกๆนั้น บางครั้งต้องศึกษาดูแรงจูงใจของพฤติกรรมก่อน
การทำความเข้าใจปัญหาของเด็กสามารถช่วยแก้ปัญหาได้มากกว่าการ
ตำหนิเพียงอย่างเดียว
ประสบการณ์ในกรณีศึกษากลุ่มเด็กของอาจารย์เหลียนยังมีอีก
มากมาย เด็กบางคนถูกมองว่าเป็นเด็กไฮเปอร์ หรือเด็กออทิสติก ทั้งที่
ความจริงอาจมีสาเหตุมาจากอาการอื่น จากการศึกษาด้านลายผิววิทยา
พบว่า เด็กบางกลุ่มสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้ดีผ่านการเคลื่อนไหวของ
ร่างกาย เช่น เด็กบางคนต้องให้ลงมือทำถึงจะเข้าใจได้เร็ว เด็กบางคน
เวลาแสดงออกจะมีอาการ Over Action” ทำให้ดูเหมือนอาการลุกลี้
ลุกลนไม่ค่อยอยู่นิ่ง วิธีการบำบัดด้วยการใช้ยานั้นควรพิจารณาให้
รอบคอบ และปรึกษาผู้เชี่ยชาญเฉพาะด้าน เพราะในระยะยาวแล้ว
การใช้ยาอาจส่งผลข้างเคียงกับตัวเด็กได้ จากการศึกษาของอาจารย์เหลียน
พบว่า บ่อยครั้งที่เด็กอยู่ไม่ค่อยนิ่งเพราะมีพลังงานสะสมในร่างกายมาก
แต่สามารถแก้ไขด้วยวิธีง่ายๆ ด้วยการออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญพลังงาน
ล่วนเกินมาใช่ให้เกิดประโยชน์ นอกจากจะช่วยลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
แล้ว ยังส่งเสริมให้เด็กมีร่างกายแข็งแรงอีกด้วย
การดูแลเด็กพิเศษในกลุ่มต่างๆ ทั้งกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม
ออทิสติก หรือกลุ่มเด็กพิเศษอื่นๆ ย่อมต้องการความดูแลเอาใจใส่ต่างกัน
ด้วยหลักการของลายผิววิทยานั้น ทำให้เราสามารถพบปัญหาความ
บกพร่องแต่กำเนิดนี้ได้ เด็กพิเศษแต่ละคนมีศักยภาพที่ซ่อนอยู่ต่างกัน
ไป ในประเทศจีนมีวาทยากรหนุ่มคนหนึ่งอายุประมาณสามสิบปีซื่อโจวโจว
(舟舟) โจวโจวเคยกำกับวงซิมโฟนีที่หอประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติจีน
ในการแสดงต้อนรับแขกคนสำคัญของรัฐบาลจีน เคยกำกับวง Southamp-
ton Symphony Orchestra ตอนเปิดการแสดงในประเทศจีน และเคย
เดินสายเปิดการแสดงในหลายรัฐของสหรัฐอเมริกา ฟังดูแล้วท่านอาจยัง
รู้สึกเฉยๆ ไม่ตื่นเต้น แต่ถ้าเฉลยว่าโจวโจวเป็นเด็กพิเศษตั้งแต่กำเนิด
คงพอจะทำให้ท่านประหลาดใจ
โจวโจว เกิดในวันที่หนึ่งเมษายน หรือ “April Fool’s Day” ใน
ปี 1978 หมอวินิจฉัยว่าโจวโจวมีอาการผิดปกติของโครมโซม อยู่ใน
กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม พ่อของโจวโจวเป็นนักเชลโลในวงซิมโฟนี
มักจะพาโจวโจวติดตามคณะซิมโฟนีเป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่งขณะที่วง
กำลังซ้อมเตรียมการแสดงอยู่นั้น โจวโจวก็ปีนขึ้นไปบนเวที่แสดงท่าทาง
ตามวาทยากร คนในวงต่างแปลกใจที่เห็นโจวโจวสนใจอย่างจริงจัง ทั้งที่
ปกติไม่ค่อยกล้าแสดงออก นับแต่นั้นมาจึงช่วยกันสนับสนุนส่งเสริม และ
ปัจจุบันโจวโจวเป็นหนึ่งในสมาชิกวงซิมโฟนีคนพิการของประเทศจีนที่
เดินสายเปิดการแสดงไปทั่วโลก
เรื่องราวของโจวโจว สอดคล้องกับแนวทางพัฒนารายบุคคลของ
“P-PAC” ซึ่งมุ่งส่งเสริมความสามารถที่โดดเด่นของแต่ละบุคคลโดย
มองข้ามจุดอ่อนของเขา ถ้าเราสามารถถอดรหัสสมองแต่ละคนได้ และ
ส่งเสริมจุดเด่นได้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการ
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งในด้านสังคมและครอบครัว
ในแต่ละองค์กร สมาชิกทุกคนล้วนเป็นสมบัติล้ำค่าที่มีความสำคัญ
เท่าเทียมกัน อาจแตกต่างกันไปตามหน้าที่ความรับผิดชอบ โอกาส
และความสามารถ แต่ต้องผสมส่วนเหมือนผสานส่วนต่างร่วมเป็น
พลังสร้างสรรค์ให้เกิดความเจริญรุ่งเรื่อง เช่นเดียวกับที่ประชาชนทุกคน
ล้วนเป็นทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ ไม่ว่าจะยากดีมีจน ทุกคนล้วน
เป็นส่วนหนึ่งของกลไกขับเคลื่อนประเทศไทย การพัฒนาศักยภาพของ
คนในสังคม จึงเท่ากับเป็นการพัฒนาศักยภาพของประเทศไปด้วยในเวลา
เดียวกัน
P-PAC ขอเป็นส่วนหนึ่งในการค้นหาและพัฒนาศักยภาพของ
ประชาชนชาวไทยให้โดดเด่นไม่แพ้ชาติใดๆ ในแผนที่โลก !
คัดลอกมาจากหนังสือ CEO กับความรัก บทที่ 14
อ่านบทความอื่นๆ Click link