Cpall, PPAC, ค้นหาตัวตน, ค้นหาศักยภาพ, วิเคราะห์ศักยภาพ, สแกนลายนิ้วมือ, สแกนลายผิว

5ภาษารักและรูปแบบการเลี้ยงดูลูก #ตอนที่3

Cpall, PPAC, ค้นหาตัวตน, ค้นหาศักยภาพ, วิเคราะห์ศักยภาพ, สแกนลายนิ้วมือ, สแกนลายผิว
Cpall, PPAC, ค้นหาตัวตน, ค้นหาศักยภาพ, วิเคราะห์ศักยภาพ, สแกนลายนิ้วมือ, สแกนลายผิว

(The Five Love Languages)

แล้วภาษารักของลูกคืออะไร? คุณพ่อคุณแม่จะแสดงความรักต่อลูกอย่างไร?


เมื่ออาทิตย์ที่แล้วเราพูดถึง The Five Love Languages 5 ภาษารัก ซึ่งเป็นทฤษฎีของ Dr. Gary Chapman ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความรักความสัมพันธ์ ชีวิตครอบครัวและการพัฒนาเด็ก ท่านเชื่อว่าคนเรามีวิธีในการแสดงออกถึงความรัก ความห่วงใยที่แตกต่างกัน โดยที่เราก็ไม่รู้ว่าคนที่เรารัก เขาจะชอบวิธีการสื่อสารหรือภาษารักที่เราแสดงออกไปหรือเปล่าก็เหมือนกับคนที่พูดกันคนละภาษา คนหนึ่งพูดภาษาไทย อีกคนพูดภาษาจีน ก็อาจจะทำให้เกิดความสับสน ความไม่เข้าใจกัน ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างกัน เพียงเพราะใช้ภาษารักที่แตกต่างกันนั่นเอง ซึ่งแน่นอนว่าภาษารักระหว่างคุณพ่อคุณแม่และลูกก็มีโอกาสที่จะส่งและรับแตกต่างกันได้ค่ะ

Dr. Chapman กำหนดแนวคิดภาษารัก (love languages) ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 รูปแบบ ดังนี้

1. Words of Affirmation (สื่อภาษารักผ่านคำพูด)

2. Quality Time (สื่อภาษารักผ่านการใช้เวลาอยู่ร่วมกัน)

3. Physical Touch (#สื่อภาษารักผ่านการสัมผัส)

4. Acts of Service (สื่อภาษารักผ่านการทำอะไรดี ๆ ให้)

5. Receiving Gifts (สื่อภาษารักผ่านการมอบของขวัญ)

เมื่อ 2 อาทิตย์ที่ผ่านมาเราได้มีการพูดถึงภาษารักแบบแรก คือ Words of Affirmation (สื่อภาษารักผ่านคำพูด) และแบบที่สอง Quality Time (สื่อภาษารักผ่านการใช้เวลาอยู่ร่วมกัน) ไปแล้วนะคะ หากคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนพลาดจากอาทิตย์ที่แล้ว สามารถอ่านย้อนหลังได้ที่ Link ด้านล่างเลยค่ะ วันนี้เราจะมาพูดคุยกันในภาษารักแบบที่สามกันค่ะ

3. Physical Touch (สื่อภาษารักผ่านการสัมผัส)


เด็ก ๆ รักการกอด แต่บางคนก็ต้องการกอดมากกว่าคนอื่น บางคนชอบให้หอมแก้ม จุ๊บหน้าผากก่อนนอน เด็กบางคนให้ความสำคัญกับการสัมผัสและการสัมผัสทางกายภาพเป็นพิเศษ เช่น การจับมือ การกุมมือ การคล้องแขน การโอบไหล่ การซบไหล่ การนั่งใกล้ ๆ กันฯลฯ และเด็กเหล่านี้คือคนที่ชอบการสัมผัสทางกายมากกว่าภาษารัก สำหรับพวกเขา การกอดอาจมีความหมายมากกว่าของขวัญราคาแพง และการกีดกันพวกเขาจากการสัมผัสทางกายและความใกล้ชิดเป็นสิ่งที่ทำร้ายความรู้สึกของพวกเขาเป็นอย่างยิ่ง

หากลูกชอบภาษารักผ่านการใช้สัมผัส นี่คือกลยุทธ์ในการแสดงความรักของคุณพ่อคุณแม่ค่ะ


1.กอดลูก: การกอดลูก การโอบกอดลูก ทำง่าย ๆ แต่มีผลมากสำหรับความสุขทางอารมณ์ของลูก
2.แปรงและหวีผมให้ลูก: มากกว่าการสัมผัสก็คือการที่ให้ลูกรู้ว่าคุณพ่อคุณแม่รักและดูแลพวกเขาอย่างใกล้ชิด
3.จับมือลูก: โดยเฉพาะเมื่อไปในที่ใหม่ ๆ หรือพบปะผู้คนใหม่ ๆ สร้างความมั่นใจให้ลูกว่าคุณพ่อคุณแม่อยู่ใกล้ ๆ เขาเสมอ
4.เล่นเกมหรือกิจกรรมที่ได้สัมผัสกัน: ทำกิจกรรมที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสัมผัสลูกหรืออยู่ใกล้ลูก เช่น การแปะแข็ง การเป่ายิ้งชุบที่ต้องร้องเพลงนางเงือกน้อย ตบบน ตบล่าง ก็ต้องมานะคะ
5.การกล่อมลูกให้เข้านอน: การตบก้น การลูบหัว การนวดมือนวดขาให้กันก็ทำให้ลูกนอนหลับได้สบาย

หากลูกชอบภาษารักผ่านการใช้สัมผัส นี่คือกลยุทธ์ในการแสดงความรักของคุณพ่อคุณแม่ค่ะ


1. กอดลูก: การกอดลูก การโอบกอดลูก ทำง่าย ๆ แต่มีผลมากสำหรับความสุขทางอารมณ์ของลูก
2.แปรงและหวีผมให้ลูก: มากกว่าการสัมผัสก็คือการที่ให้ลูกรู้ว่าคุณพ่อคุณแม่รักและดูแลพวกเขาอย่างใกล้ชิด
3.จับมือลูก: โดยเฉพาะเมื่อไปในที่ใหม่ ๆ หรือพบปะผู้คนใหม่ ๆ สร้างความมั่นใจให้ลูกว่าคุณพ่อคุณแม่อยู่ใกล้ ๆ เขาเสมอ
4.เล่นเกมหรือกิจกรรมที่ได้สัมผัสกัน: ทำกิจกรรมที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสัมผัสลูกหรืออยู่ใกล้ลูก เช่น การแปะแข็ง การเป่ายิ้งชุบที่ต้องร้องเพลงนางเงือกน้อย ตบบน ตบล่าง ก็ต้องมานะคะ
5.การกล่อมลูกให้เข้านอน: การตบก้น การลูบหัว การนวดมือนวดขาให้กันก็ทำให้ลูกนอนหลับได้สบาย


สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงคือ


1.การตีลูก: การทำโทษลูกด้วยการตีอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีในการสั่งสอนพวกเขา
2.การไม่กอดหรือหอมลูก: การหลีกเลี่ยงการไม่กอดหรือหอมลูก โดยเฉพาะหลังจากไม่ได้อยู่ด้วยกันเป็นเวลานานหรือไม่ได้เจอกันเป็นเวลานาน อาจทำให้ลูกรู้สึกไม่มั่นใจถึงความรักที่คุณพ่อคุณแม่มีให้พวกเขา มันคือความอบอุ่นของลูกที่ชอบภาษารักแบบนี้ต้องการจากคุณพ่อคุณแม่มากที่สุด
คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมนะคะว่า เราไม่ต้องเสียเงินหรือเสียเวลาในการหาสิ่งต่าง ๆ เพื่อแสดงออกภาษารักผ่านการสัมผัสนี้เลย มีเพียงแค่ร่างกายของเราเท่านั้นก็สามารถแสดงภาษารักกับลูกได้แล้ว เพราะพวกเขาแค่อยากรู้สึกใกล้ชิดกับคุณพ่อคุณแม่เท่านั้น แม้กระทั่งการปลอบโดยแตะที่ไหล่เบา ๆ ขณะที่ลูกรู้สึกเศร้าเสียใจ ก็ทำให้ลูกรู้สึกดีขึ้นได้ ยิ่งเมื่อลูกเป็นเด็ก การกอด การหอม การจับมือทำได้ง่ายมาก แต่หากเมื่อลูกเริ่มโตเป็นวัยรุ่นแล้ว เด็กบางคนก็อาจจะมีแนวโน้มที่จะไม่เต็มใจที่ให้คุณพ่อคุณแม่กอดในที่สาธารณะหรือต่อหน้าเพื่อน ๆ แล้วก็ได้นะคะ ช่วงเวลาที่ลูกเป็นเด็กนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่ดีในการบอกรักผ่านการสัมผัสมาก ๆ เลยค่ะ

บทความอื่นๆ Click link

Leave a comment