ลายผิวกับการทำงานของสมอง
ตอบ “ลายผิววิทยา” คือการศึกษาความเชื่อมโยงของลายผิวกับการทำงานของสมอง ระบบประสาท จิตวิทยา พันธุกรรมศาสตร์ และพฤติกรรมศาสตร์ โดยมีการศึกษาค้นคว้าทางการแพทย์มานานกว่า 200 ปี ซึ่งข้อเท็จจริงของลายผิวมีอยู่ 3 ประการคือ 1.ลายผิวของทุกคนไม่เหมือนกัน 2.ลายผิวมีความสัมพันธ์กับสมอง 3.ลายผิวไม่เปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต ซึ่งผลการวิเคราะห์สามารถแสดงความเป็นตัวตน รวมถึงอุปนิสัย แรงจูงใจและวิธีที่ใช้ในการทำงานได้แม่นยำมากกว่า 85- 90%
ลายผิวของแต่ละคนเริ่มปรากฏตั้งแต่เป็นทารกอยู่ในครรภ์มารดา ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับการก่อเกิดสมองของทารก
ลายผิววิทยา มีการศึกษามาเกือบ 200 ปี แล้ว ตั้งแต่ปี 1823 ทางตะวันออกมีการศึกษามาก่อน แต่ไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นทางการ จึงมีแต่หลักฐานการศึกษาในยุโรป,อเมริกา คือ :
ปี คศ 1823 : นายแพทย์ Purkinje (ชาวเช็ก) มีวิทยานิพนธ์เล่มแรกเกี่ยวกับ Fingerprints
และแบ่ง Fingerprints ออกเป็น 9 แบบตามรูปแบบลายผิวที่แตกต่างกัน
ปี คศ.1892 : Galtonซึ่งเป็นนักมนุษยวิทยา ชาวอังกฤษ ลูกพี่ลุกน้องกับชาล์ส ดาร์วิน (ผู้ศึกษา วิวัฒนาการของมนุษย์ )ผู้สร้างทฤษฎีวิชา Genetics (การคัดเลือกยีนส์และสืบต่อทางพันธุกรรม) ได้เขียนและตีพิมพ์หนังสือเล่มแรกเกี่ยวกับ Fingerprints อธิบายเกี่ยวกับลาย Arch, Loop และ Whorl
ปี คศ.1926 : นักวิทยาศาสตร์ 2 คน คือ H.Cummins และ Midlo เป็นผู้บัญญัติศัพท์
ลายผิววิทยา ว่า “Dermatoglyphics.” เป็นครั้งแรก
ปี คศ.1967 : มีการจัดประชุมระหว่างชาติขึ้นที่กรุงลอนดอน เกี่ยวกับผลวิจัย Dermatoglyphics กฎต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เรื่องของ Ridge แลบะ Lines เป็นต้น
ศาสตร์นี้มีมากี่ปีแล้วในไทย
ประมาณ 15 ปี
มีผลการวิจัยอะไรมารองรับศาสตร์นี้หรือไม่
มีค่ะ มีงานวิจัยเกียวกับศาสตร์ลายผิวที่ศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างลายผิวที่นิ้วมือกับการทำงานของสมอง
ตัวอย่างงานวิจัยในต่างประเทศ เช่น
1.ค.ศ. 1823 Dr. John E Purkinji แบ่งประเภทของลายผิวเป็น 9 แบบ และค้นพบว่า ลายผิวเริ่มก่อตัวประมาณสัปดาห์ที่ 13 ในขณะที่อยู่ในครรภ์
- ค.ศ.1893 Sir Francis Galton นักมานุษยวิทยาได้ตีพิมพ์บทความวิชาเกี่ยวกับระบบแบบแผนลายนิ้วมือที่สามารถใช้ระบุตัวบุคคลได้หลักการนี้ยังคงถูกใช้อยู่ในทุกวันนี้
3.ค.ศ. 1926 Dr. Harold Cummins และ Dr. Charles Midlo นิยามคำว่า “Dermatoglyphics” ซึ่งมาจากคำว่า Derma (ผิวหนัง) และ Glyph (รอยสลัก) Dr. Cummins ยังได้ถูกขนานนามว่าเป็นบิดาของลายผิววิทยา งานวิจัยของเขาพบว่าคนที่เป็นโรคทางพันธุกรรม เช่น โรคในกลุ่มดาวน์ ลายมือจะมีลักษณะพิเศษ
- ค.ศ. 1832 Dr. Charles Bell เป็นศัลยแพทย์คนแรกที่ค้นพบความสัมพันธ์ของระบบประสาทของสมองกับลายนิ้วมือ
ตัวอย่างงานวิจัยในไทย เช่น
- การวิเคราะห์เปรียบเทียบลายพิมพ์นิ้วมือของบุคคลที่เป็นฝาแฝด
- ความสัมพันธ์ระหว่างแบบ ลายนิ้วมือและพหุปัญญา
- การระบุบุคคลด้วยลักษณะลายผิวของฝ่ามือจากกลุ่มที่คัดกรองด้วยเส้นหลัก
ทำไมต้องมาจากประเทศไต้หวัน
เพราะผู้ที่ก่อตั้งได้พบศาสตร์นี้จากงานแข่งหมากล้อมละได้พบกับทีมงานของเหลียนเหล่าซือและได้ทำการสแกนลายผิว จากผลการวิเคราะห์ที่มีความเที่ยงตรงและสามารถสะท้อนเกี่ยวกับลักษณะบุคลิกภาพและศักยภาพได้ รวมถึงได้มีการทดลองกับกลุ่มผู้บริหารระดับสูง ก็ได้รับผลเป็นที่น่าเชื่อถือ รวมทั้งทีมผู้ก่อตั้ง p-pac และผู้บริหารได้เดินทางไปดูงานของสถาบันการสแกนลายผิวของเหลียนเหล่าซือที่ไต้หวันเพื่อยืนยันความน่าเชื่อถือด้วย
P-PAC แตกต่างจากแบรนด์อื่นยังไง
P-PAC มีจุดแข็งในการอธิบายถึงลักษณะบุคลิกภาพ เชื่อมโยงกับศักยภาพ และการนำไปใช้
P-PAC แตกต่างจากดูดวงยังไง
P-PAC เป็นการวิเคราะห์ศักยภาพและบุคลิกภาพที่ติดตัวมาตั้งต่เกิด โดยการสแกนลายผิว ใช้ลายผิวเส้นนูน และวิเคราะห์เชื่อมโยงกับการทำงานของสมอง ต่างกับการดูดวงที่ใช้วันเดือนปีเกิดในการทำนายอนาคต
ลายผิวกับลายนิ้วมือแตกต่างกันยังไง
ลายผิวที่นิ้วมือและฝ่ามือเป็นเส้นนูน ลายผิวไม่เปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต ส่วนลายมือเป็นร่อง และมีสามารถเปลี่ยนแปลงได้
ลายนิ้วมือไม่มีการเปลี่ยนแปลงจริงหรือ
ไม่เปลี่ยนแปลงเพราะมีการศึกษาวิจัย และใช้ทางด้านการแพทย์ ในการศึกษาเกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรม และทางด้านกฎหมายใช้ระบุตัวบุคคล
ประโยชน์ของการวิเคราะห์ในแต่ละช่วงวัย วัยเด็กเล็ก วัยเรียน วัยรุ่น วัยทำงาน ครอบครัว วัยสูงอายุ
ประโยชน์ที่ได้จากการวิเคราะห์ลายผิว
วัยเด็กเล็ก เพื่อเข้าใจลักษณะนิสัยตามธรรมชาติ พ่อแม่ทราบถึงวิธีการสื่อสารและการจัดสิ่งแวดล้อมในการเลี้ยงดูที่เหมาะสม การส่งเสริมศักยภาพ ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด รวมถึงจุดอ่อนที่พ่อแม่เตรียมรับมือหรือหาวิธีการในการบริหารจัดการลูกในการเลี่ยงดูได้อย่างถูกต้อง
วัยเรียน เพื่อเข้าใจลักษณะนิสัยตามธรรมชาติ พ่อแม่ทราบถึงวิธีการสื่อสารและการจัดสิ่งแวดล้อมในการเลี้ยงดูที่เหมาะสม การส่งเสริมศักยภาพ ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด รวมถึงจุดอ่อนที่พ่อแม่เตรียมรับมือหรือหาวิธีการในการบริหารจัดการลูกในการเลี่ยงดูได้อย่างถูกต้อง และเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพ การจัดการเรียนการสอน ทราบถึงลักษณะการเรียนรู้และการรับรู้ การวางแผนการเรียน
วัยรุ่น เพื่อเข้าใจลักษณะนิสัยตามธรรมชาติ การสือ่สาร การส่งเสริมศักยภาพ ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด รวมถึงจุดอ่อนที่พ่อแม่เตรียมรับมือหรือหาวิธีการในการบริหารจัดการลูกในการเลี่ยงดูได้อย่างถูกต้อง
วัยทำงาน เพื่อเข้าใจตนเอง ค้นหาศักยภาพ ทราบถึงจุดแข็งและจุดอ่อนในตนเอง ครอบครัว เพื่อความเข้าใจซึ่งกันและกัน การสื่อสารของคนในครอบครัว การส่งเสริมความสัมพันธภาพ และการพัฒนาศักยภาพที่ทุกคนมองเห็นทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน จะได้เข้าใจ และช่วยสนับสนุนกันในครอบครัว ในบทบาทของแต่ละคน โดยเฉพาะคุณพ่อ คุณแม่ที่มีลูกๆ ต้องดูแล
วัยสูงอายุ เพื่อเข้าใจตนเอง ตนเอง ครอบครัว เพื่อความเข้าใจซึ่งกันและกัน การสื่อสารของคนในครอบครัว การส่งเสริมความสัมพันธภาพ จะได้เข้าใจและช่วยสนับสนุนกันในครอบครัว ในบทบาทของแต่ละคน รวมทั้งค้นหาศักยภาพที่ยังไม่ได้ใช้ หรือมองหากิจกรรมที่ทำได้ดีและมีความสุขในวัยเกษียณ
ความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน
85% จากแบบประเมินผลความพึงพอใจของลูกค่า
มีคนที่มาฟังแล้วไม่ตรงหรือไม่
มีค่ะ เพราะปัจจัยที่กระทบต่อผลของความแม่นยำมีได้เช่น ปัจจัยการเลี้ยงดู การฝึกฝน และความสามารถในการประเมินและระยะเวลาในการสำรวจตนเอง
อายุเท่าไหร่ที่ควรมาทำการวิเคราะห์
รับอายุ 2 ขวบขึ้นไปเพราะลายผิวจะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ทำไมต้องเริ่มที่ 2 ปี เด็กกว่านี้สแกนได้หรือไม่
รับอายุ 2 ขวบขึ้นไปเพราะลายผิวจะมีความชัดเจนมากกว่า
ทำไมเด็ก 2-12 ปีต้องพิมพ์หรือสแกนฝ่าเท้า ผลไปขึ้นตรงไหน
ฝ่าเท้าจะสะท้อนถึงระบบการทำงานของสมองและประสาทสัมผัส ผลไม่ออกในรายงานแต่ นักวิเคราะห์จะใช้ประกอบการวิเคราะห์ในห้อง
ทำไมผู้ใหญ่ไม่ต้องพิมพ์หรือสแกนฝ่าเท้า
ลายฝ่าเท้าจะสะท้อนถึงระบบการทำงานของประสาทสัมผัสซึ่งหากต้องการการพัฒนาเสริมสามารถ พัฒนาได้ดีกว่าในวัยเด็กก่อน 12 ปี
การวิเคราะห์ตอนเด็กกับผู้ใหญ่แตกต่างกันอย่างไร
เนื้อหาของรายงานต่างกันเล็กน้อยในเรื่อง หากเป็นรายงานเด็กจะขึ้นเป็นการพัฒนาศักยภาพโดยกำเนิดเพื่อเน้นการกระตุ้นเสริมก่อน หากเป็นรายงานผู้ใหญ่จะเน้นเรื่องความเข้าใจของตัวตนและบุคลิกภาพก่อน
ตารางศักยภาพสามารถรู้ความถนัดได้กี่เปอร์เซนต์
ตารางศักยภาพสามารถอธิบายความถนัดของผู้นั้นเป็นสำคัญและจะเน้นเรื่องการเรียนรู้และเข้าใจตนเอง ไม่เปรียบเทียบออกกับผู้อื่น โดยลักษณะของลายผิวทั่วไปจะเป็นการประเมินศักยภาพ 10 ด้านทั้งหมด กับอัตตราส่วนภายในตนเอง
กรณีสแกนไปนานแล้ว ด้าต้อเบสก็เพิ่มขึ้น เราต้องมาสแกนใหม่หรือไม่ แล้วผลการวิเคราะห์จะเปลี่ยนหรือไม่
ไม่เปลี่ยนแปลงแม้มีดาต้าเบสเพิ่มขึ้น
เปอร์เซนต์ของค่า PR ที่นับจากประชากร 100 คน ค่าสถิติปัจจุบันยังเป็น 100 คนอยู่หรือไม่อย่างไร มีการขยายค่าของประชากรหรือไม่อย่างไร
ปัจจุบันทางไต้หวันแจ้งว่ายังไม่มีการเปลี่ยนแปลง
. เป็นไปได้หรือไม่ว่าความชอบของเด็กไม่ตรงกับศักยภาพที่วิเคราะห์มาและเกิดจากสาเหตุอะไร
เป็นไปได้ทั้งนี้เกิดขึ้นได้เพราะลายผิววิทยาไม่สามารถประเมินสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ที่พบเจอได้
หากความชอบความสนใจไม่ตรงกับศักยภาพที่วิเคราะห์มา ควรจะเลือกมุ่งเน้นไปทางไหน เพราะอะไร
แนวโน้มงานวิจัยได้สะท้อนให้เห็นว่าเมื่อเราเติบโตมากยิ่งขึ้นสิ่งที่เป็นตัวตนจะยิ่งฉายแววชัดเจนขึ้น
กรณีมีนกหลายตัว แต่ละตัวมีกี่เปอซ็นต์
เราจะให้น้ำหนักกับตัวหลักมากที่สุด
. เป็นนกประเภทไหนดีกว่ากัน
นกแต่ละประเภทมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป ไม่ได้มีนกประเภทไหนดีกว่ากัน เพียงแต่เราต้องเข้าใจ
คนนึงมีนกสูงสุดได้กี่ตัว
สูงสุดที่เคยเจอคือ 4 ตัว
ทำไมนกแก้วจึงไม่เป็นนกรอง
เพราะนกแก้วเป็นนกที่มีความยิดหยุ่นและปรับตัวได้ตามสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี
สแกนแล้วดูเรื่องของความผิดปกติ เช่น ออทิสติก หรือ สมาธิสั้นได้หรือไม่
สามารถดูได้ และได้เคยทำงานวิจัยเกี่ยวกับเด็กๆ ออทิสติก หรือสมาธิสั้น แต่ถึงอย่างไรเราไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ จังแนะนำให้ปริกษาแพทย์
เด็กพิเศษสแกนได้หรือไม่ และผลที่ออกมาจะตรงกับตัวเขาหรือไม่อย่างไร?
สามารถสแกนได้ แต่ในเด็กบางคนมีภาวะ Learning Disorder อาจส่งผลให้ไม่สามารถแสดง ศักยภาพตามตารางออกมาได้อย่างชัดเจน
ลายผิวสามารถดูเรื่องของภาวะซึมเศร้าได้มั๊ยอย่างไร
ได้ แต่ทางเรายังไม่ได้นำเข้ามาใช้ในการวิเคราะห์
ถ้าเด็กที่มามีปัญหาทางพฤติกรรม เช่นติดเกมส์ ก้าวร้าว แล้วนา P-PAC ไปใช้ ในการปรับพฤติกรรมได้ยังไงบ้าง
ทำให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงแนวโน้มสาเหตุของพฤติกรรม และแนะแนวทางแก้ไข้
ถ้าสังเกตเห็นว่ามีเด็กพิเศษมาเข้ารับบริการ จะโน๊ตหรือแจ้งนักวิเคราะห์อย่างไร หรือควรสอบถามนักวิเคราะห์เพิ่มเติมอย่างไร
ในเบื้องต้นให้ปั๊มลายฝ่าเท้าเพิ่มเติม(ไม่ว่าลูกค้าจะอายุเท่าไร)