“อย่าหาทางลัดให้ลูก”
บ่อยครั้งนะคะ ที่เรามักจะเห็นลูกทำอะไร “ชักช้า” แล้วรู้สึก “ขัดใจ” จนต้องเข้าไปช่วยเพื่อให้เร็วขึ้น หรือหนักสุดเลย คือการเข้าไป “ทำแทนลูก” บทความอื่นๆ Click link
บ่อยครั้งนะคะ ที่เรามักจะเห็นลูกทำอะไร “ชักช้า” แล้วรู้สึก “ขัดใจ” จนต้องเข้าไปช่วยเพื่อให้เร็วขึ้น หรือหนักสุดเลย คือการเข้าไป “ทำแทนลูก” บทความอื่นๆ Click link
การวางแผนการเงินเป็นเครื่องมือที่ช่วยเตรียมความพร้อมและนำชีวิตไปสู่ความมั่นคงทางการเงิน ซึ่งควรเริ่มจากการปลูกฝังนิสัยการออมและการใช้เงินอย่างสมเหตุสมผลตั้งแต่วัยเด็กเพื่อบ่มเพาะวินัยทางการเงินไว้ก่อน เมื่อเข้าสู่วัยทำงานก็ยิ่งจำเป็นต้องรู้วิธีการวางแผนการจัดสรรรายได้ให้เพียงพอกับการออมเงินตามเป้าหมายและรายจ่ายต่าง ๆ อย่างเหมาะสม แต่ในวิธีการวางแผนการเงินนั้น ก็มักมาจากนิสัยและวิธีการคิดพื้นฐานของแต่ละคนซึ่งก็เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจในการนำไปปรับใช้กับตนเอง หรือพ่อแม่ที่จะเริ่มแนะนำลูกในการวางแผนการเงินอย่างเข้าใจ ดังนั้นวันนี้ลองมาดูคำแนะนำจากการวิเคราะห์ P-PAC บุคลิกนก ที่จะช่วยให้สามารถเข้าใจพฤติกรรมหรือสไตล์ของนกทั้ง 5 แบบในการวางแผนการเงินเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการตนเองหรือการวางแผนให้กับลูก ๆ กันนะคะ นกเหยี่ยว เป็นนกที่มีลักษณะของการเป็นผู้นำ เป็นนักล่า นกเหยี่ยวจะบินเดี่ยว บินสูง มองภาพกว้าง ชอบเหยื่อที่มีความท้าทาย เมื่อล็อคเป้าหมาย เหยี่ยวจะพุ่งเข้าใส่เหยื่ออย่างรวดเร็ว เปรียบเทียบกับลักษณะของคน คือ เป็นคนที่มีความชัดเจน เด็ดขาด กล้าคิด กล้าตัดสินใจ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ชอบความท้าทาย กล้าริเริ่ม และกำหนดเป้าหมายด้วยตนเอง มีความมุ่งมั่น มีแรงผลักดัน ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่รวดเร็ว สไตล์การวางแผนการเงินของนกเหยี่ยว จึงอยู่ในรูปแบบของนักลงทุนสูงในแต่ละครั้ง มากกว่าออมทีละเล็ก ๆ น้อยๆ เพราะเหยี่ยวสนุกกับความท้าทาย ต้องการเห็นผลลัพธ์ที่เร็ว และเป็นผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ จึงกล้าที่จะเสี่ยงและมักจะต่อยอดสินทรัพย์ ด้วยการลงทุนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจไม่ได้ลงรายละเอียดหรือจัดสรรเป็นสัดส่วน หรืออดทนต่อผลกำไรเล็ก ๆ น้อย ๆ มากนัก […]
หลายคนน่าจะเข้าใจแล้วว่าเข้าใจตนก็คือเข้าใจตนเองว่าเป็นคนอย่างไร มีความสุขแบบไหน ลักษณะนิสัยชอบทำอะไรหรือเป็นอย่างไร แต่พอพูดถึงเข้าใจคน หลายๆคนก็อาจจะถามว่าเข้าใจใครหรอ ใครคือคนนั้น คนในที่นี้จึงมีความหมายที่กว้างมากและหมายถึงคนที่อยู่รอบตัวเราเลยค่ะ เช่น พ่อแม่ พี่น้องเพื่อนฝูง สามีหรือภรรยา และลูก หรือคนทุกคนที่เรารู้จักในสังคมค่ะ ทุกคนคงจะบอกว่าไม่เห็นต้องเข้าใจตนเองเลยเพราะฉันอยู่กับตัวฉันเองมาทั้งชีวิตแล้วจริงมั้ยคะ แต่ในความเป็นจริงแล้วอายุเป็นเพียงตัวเลข กาลเวลาก็เป็นเพียงแค่กาลเวลา มันไม่ได้บอกเลยว่าเรารู้จักตัวเราอย่างถูกต้องหรือไม่อย่างไร เพราะหลายคนหรือง่าย ๆ เกือบทุกคนในโลกนี้ล้วนแต่เข้าข้างตนเอง มันอยู่ที่ว่าเราอยากจะเข้าข้างแบบไหน เช่น ถ้าสังคมภายนอกเขายอมรับการเป็นคนดีมีศีลธรรม มีจิตใจที่ดี เข้าวัดฟังธรรม ทำบุญตักบาตร เราก็จะเข้าข้างตัวเราเองว่าเราเป็นคนแบบนั้นค่ะ เพื่อให้สังคมยอมรับ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไปถามคนใกล้ตัวเขาอาจจะบอกว่าไม่จริงก็ได้ การเข้าใจตนนี้จึงอยากให้ทำความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงค่ะ ถามตัวเองว่าในแต่ละวันเราได้ทำอะไรบ้าง เราคิดอะไรบ้าง อะไรที่ทำให้เรามีความสุขและอะไรที่ทำให้เราหงุดหงิด และเรามีวิธีในการรักษาอารมณ์ตัวเองได้อย่างไร และอีกหลายอย่างที่เราคิดและทำในแต่ละวัน ซึ่งถ้าเราสามารถดึงตัวเองออกมาแล้วมองตัวเรา เสมือนเป็นอีกคนหนึ่งได้จะดีมาก นั่นคือการทำความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงและอย่างเป็นกลางไม่เข้าข้างตัวเองค่ะ ภาษาอังกฤษเรียกว่า introspection วิธีการคือ ให้ทบทวนพฤติกรรมของตนเองและการใช้ชีวิตในแต่ละวัน ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ยิ่งเวลาก่อนนอนจะเป็นเวลาที่ดีที่สุดค่ะ โดยดึงตัวเองออกมาเป็นอีกคนหนึ่งมองเข้าไป แล้วพิจารณาว่าวันนี้ฉันทำอะไรที่เป็นความดีบ้าง วันนี้ฉันทำอะไรที่ทำให้คนรอบข้างมีความสุขบ้าง หรือวันนี้ฉันมีเรื่องหงุดหงิดรำคาญใจกับใครบ้าง หรืออาจจะมีการทะเลาะเบาะแว้งกับใครหรือเปล่า แล้วฉันจะป้องกันตัวเองไม่ให้เป็นเช่นนี้ได้อย่างไรในวันต่อ ๆ ไป หรือฉันจะทำให้ดีขึ้นกว่านี้ได้อย่างไร ถ้ามันทำให้ฉันมีความสุขและคนรอบตัวก็มีความสุขด้วย การทำความเข้าใจตนเองถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมากในการพัฒนาตัวเองนะคะโดยจะต้องมีความเป็นกลางเสมอ […]
ตาราง Innate Intelligence Distribution หรือที่เรียกกันว่าตารางศักยภาพ 10 ด้านของ P-PAC นี้เป็นตารางที่สามารถบอกถึงต้นทุนที่ติดตัวทุกคนมาตั้งแต่แรก โดยจะถูกจัดลำดับจากศักยภาพที่มีความโดดเด่นในตัวของเราตั้งแต่มากไปจนถึงน้อย เราสามารถนำตารางนี้มาใช้ประกอบการตัดสินใจของพ่อคุณแม่ในการส่งเสริมการเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ ของลูกได้ แต่นักวิเคราะห์อยากให้คุณพ่อคุณแม่นำมาใช้อย่างเข้าใจ ศักยภาพที่โดดเด่นของแต่ละท่านในตารางศักยภาพหมายถึงต้นทุนของความสามารถด้านนั้น ๆ มีความโดดเด่น ถ้าเรานำศักยภาพด้านนั้น ๆ ไปพัฒนาได้อย่างเหมาะสม จะทำให้ลูกเรียนรู้สิ่งนั้น ๆ ได้รวดเร็ว มีความสุขที่จะทำ หรืออาจจะเห็นจากพฤติกรรมของลูก ๆ ได้อย่างชัดเจนว่าเป็นสิ่งที่เขาชอบและอยากทำ จนกลายมาเป็นความถนัด ดังนั้นถ้าเราสามารถนำสิ่งที่ลูก ๆ ถนัดมา หรือรักที่จะทำมาเป็นตัวช่วยในการเลือกสายการเรียนให้ลูก ๆ ก็เป็นไปได้มากว่าลูก ๆ จะมีความสุขกับสิ่งที่เขาเรียน รวมไปถึงมีความสุขกับสายอาชีพที่เขาจะทำ และจะทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นออกมาได้เป็นอย่างดี แต่นักวิเคราะห์อยากให้ระวังหลุมพรางหนึ่งของการเลือกสิ่งเหล่านี้ เช่น ลูกอยากเรียนเป็นทันตแพทย์ ศักยภาพด้านอื่น ๆ ดูส่งเสริมหมด ยกเว้น กล้ามเนื้อมัดเล็ก ที่จะช่วยในการหยิบจับเครื่องมือ และศักยภาพด้านการสังเกต ซึ่งส่งผลกระทบกับเรื่องของรายละเอียด คุณพ่อคุณแม่บางบ้านเลยคิดว่าแบบนี้คงไม่สามารถเรียนได้ เพราะขาดคุณสมบัติข้อนี้ไป ความจริงนั้นเราจะมองหรือให้ความสำคัญกับศักยภาพที่ลูก ๆ […]
“ลูกดื้อจัง” ประโยคนี้เป็นได้ทั้งประโยคบอกเล่า หรือตัดพ้อ ถอดใจ บ่นว่า ดุ และอีกมากมาย ตามน้ำเสียงที่ใช้ แต่ไม่ว่าจะด้วยอารมณ์ไหน ความหมายเดียวที่เกิดขึ้นคือ ลูกไม่ให้ความร่วมมือ ไม่ยอมทำตามที่พ่อแม่ต้องการ จริงไหมคะ? ค่อนข้างเป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับพ่อแม่ทุกคน ทั้งเหนื่อย ทั้งปากเปียกปากแฉะก็แล้ว ลูกก็ยังดื้อรั้น ไม่ยอมทำ เช่น ให้อ่านหนังสือ ทำการบ้าน ก็นั่งเล่นเกม ให้รีบอาบน้ำ แต่งตัวไปโรงเรียน ก็นั่งชิว เฉื่อยแฉะ จนแม่ต้องทั้งเคี่ยวและเข็ญให้ทำ กว่าจะเสร็จก็ทำให้ไปโรงเรียนสาย และ อีกมากมาย ที่สามารถเล่าได้ทั้งวันถึงวีรกรรมความดื้อของลูก แล้วจะแก้ปัญหาความดื้อของลูกได้อย่างไร? ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจสาเหตุความดื้อของลูกก่อนค่ะ แบบที่หนึ่ง ดื้อเพราะตัวตนสูง อันนี้หนักสุดค่ะ เพราะคนตัวตนสูง ก็อยากทำอะไรที่ตัวเองชอบเท่านั้น ถ้าถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่ชอบหรือสมัครใจด้วยตนเอง ก็จะเกิดแรงต่อต้านทันที ซึ่งภาษาพ่อแม่เรียกว่า ดื้อ นั่นเอง วิธีจัดการ ในเมื่อเด็กต้องการทำอะไรที่ตัวเองชอบหรือสมัครใจ เราก็แค่ส่งตัวเลือกให้ค่ะ เช่น จะกินข้าวหรือก๋วยเตี๋ยวดี แปลว่าไม่ได้บังคับนะ หนูมีสิทธิเลือกค่ะ ถ้าเด็กไม่มีความคิดในด้านอื่น การตัดสินใจเลือกตัวใดตัวหนึ่งที่เราให้ก็จะง่ายค่ะ แต่ที่ยากคือ เด็กไม่ชอบทั้งสองอย่างที่ส่งให้เลือก เราก็อาจจะต้องส่งใหม่ค่ะ […]
งานวิจัยมากมาย พบว่า ลายนิ้วมือของลิงซิมแปนซีมีความคล้ายคลึงกับลายนิ้วมือมนุษย์มาก เพียงแต่มีขนาดเล็กกว่าเท่านั้นค่ะ การวิจัยและศึกษาจากลิงซิมแปนซีมีความสามารถในการเรียนรู้โดยการใช้เครื่องมือได้ดีในระดับหนึ่งทีเดียวแต่ก็ยังไม่เทียบเท่ากับมนุษย์งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ พบอีกว่า ผู้ที่มีรูปแบบความคิดและพฤติกรรมที่ไม่ค่อยปกติ จะมีลายบนนิ้วมือโดยเฉพาะบนนิ้วชี้แตกต่างจากคนทั่วไป มีงานวิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรคภัยไข้เจ็บ ความผิดปกติของโรคทางพันธุกรรมกับความสัมพันธ์ของการเกิดลายผิวอีกมากมาย แม้ในศาสตร์ทางการแพทย์ของจีนโบราณก็ได้มีการบันทึกไว้ด้วยค่ะว่า นิ้วกลางสามารถแสดงถึงระบบความรู้สึกและการเคลื่อนไหวของร่างกาย มือและเท้าได้ ซึ่งสะท้อนได้ว่าลายผิววิทยาสามารถบอกข้อมูลบางอย่างได ปัจจุบัน รูปแบบและเครื่องมือของการประเมินบุคลิกภาพมีมากมายนัก แต่การวิเคราะห์ศักยภาพผ่านลายผิววิทยาไม่ได้อิงจากการประเมินตนเอง ไม่ได้ใช้ผู้อื่นในการประเมิน ไม่เกี่ยวกับเวลา ไม่เกี่ยวพันกับประสบการณ์และความคิดตัดสินว่าเป็นจากผู้หนึ่งผู้ใด ข้อดีของการวิเคราะห์ศักยภาพผ่านลายผิววิทยาจึงลดอคติและมุมมองในการเอื้อประโยชน์ต่อการประเมินได้ แต่แน่นอนว่ามันไม่สามารถวัดประสบการณ์และความชำนาญได้ และลายผิววิทยาจึงเป็นการสะท้อนสิ่งที่ติดตัวมาโดยมีจุดเริ่มต้นจาก DNA เลยทีเดียวค่ะ สิ่งที่น่าสนใจ คือ การแข่งขันในโลกและการใช้ชีวิตในปัจจุบันมีความรุนแรงในการแข่งขันกันสูงมาก หากเราเริ่มต้นเข้าใจธรรมชาติภายในที่เรามีเราเป็น เข้าใจพฤติกรรมและพื้นอารมณ์ เราเริ่มเห็นแรงขับภายใน รู้ขบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม และเราสามารถพัฒนาทักษะความรู้และความเชี่ยวชาญได้ตรงจุด ช่วยลดการลองผิดลองถูกและเสียเวลา เชื่อว่าความหมายคุณค่าของการใช้ชีวิต ความสุขและความสำเร็จจะมีได้ง่ายขึ้น ว่าไหมคะยังมีงานวิจัยอีกมากมายที่ไว้จะมาแบ่งปันในครั้งต่อ ๆ ไป และขอเชิญชวนมาทดลองพิสูจน์และค้นหาสิ่งที่ยอดเยี่ยมในตัวตนของเราด้วยกันที่ P-PAC ค่ะแล้วพบกันนะคะ โดย คุณนก ธนัญกรณ์ เดชโติอธิวัฒน์ – นักวิเคราะห์ศักยภาพ P-PAC บทความอื่นๆ Click link
วันนี้ นกมีมุมมองบางอย่างที่อยากสะท้อนคุณพ่อคุณแม่ เพื่อการ recheck ความคิดและมุมมองที่เรามีต่อลูก อยากให้ทุกท่านลองเปิดใจอ่านและซื่อสัตย์ในการสังเกตมุมมองความเป็นพ่อเป็นแม่ของตนมากยิ่งขึ้นนะคะ จะดูร้อนแรงนิดนึงค่ะ เคยแวบคิดไหมคะ มุมมองของเรา…ลูกไม่ทำ ลูกไม่ฟัง = ลูกดื้อลูกคิดต่าง ลูกคิดไม่ตรงกับใจเรา = ลูกดื้อ ฟังลูก…เราฟังแบบไหน ทำไมเวลาที่เราฟังเจ้านาย ฟังลูกค้า เราจึงอดทนฟังได้ถามลูก… เราตั้งคำถามแบบไหน เราถามด้วยอารมณ์แบบไหนเราคิดว่าเราสามารถจัดการได้คนเดียวเท่านั้นหรือไม่บอกลูก… ลูกทำไมไม่ทำ เวลาสั่งคนอื่น สั่งลูกน้องบางทีก็ทำไม่ได้บอกให้ลูกทำ…เชียร์ให้ลูกทำ ดูง่าย แต่เวลาเราทำเอง… ยากจังทำไมลูกไม่เปลี่ยนพฤติกรรมเสียที แต่ถ้าให้เปลี่ยนเรา เปลี่ยนความเคยชินเรา ยากจังหรือเราถูกหล่อหลอมมานานแล้ว ด้วยขบวนการที่สอนให้เราไม่ค่อยอนุญาตให้เราคิดหรือไม่ได้ฝึกให้คิดเองได้หรือเราออกแบบความคิดให้กับลูกซึ่งมีผลมาจากมรดกที่เราได้รับจากครอบครัวที่เต็มไปด้วยความคาดหวังเราเป็นพ่อ แม่ แบบไหนกันนะหรือเราคิดว่า วิธีเรานี่เยี่ยมที่สุด เหมาะสมดีที่สุดแล้ว ทีนี้ค่ะ ลองหลับตา หายใจเข้า-ออกสัก 5 ครั้ง แล้วบอกกับตนเองว่า เราตัดสินใจที่จะ……เราจะฝึกให้เขากล้าลองผิด ลองถูก มากยิ่งขึ้น…เราจะช่วยสร้างความรู้สึกให้เขาอยากลอง อยากเรียนรู้…เราจะมอบสิทธิ การให้อำนาจของเขาเองในการเลือก ตัดสินใจเองมากขึ้น…เราจะช่วยให้เขาเห็นสิ่งที่ชอบ สิ่งที่ใช่ สิ่งที่ทำได้ดี ชัดเจนยิ่งขึ้น…เรารู้ว่าบางทีสิ่งที่ถูกต้องในวันก่อนของเรา อาจไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องในวันนี้สำหรับลูก…เราจะระมัดระวังไม่ให้ความกลัวของเรา ปิดกั้นลูก…เราจะระวังประสบการณ์ที่ลบฝังใจของเรา…เราผ่านมาได้ ลูกจะผ่านไปได้…เรารู้ว่าความผิดพลาดของลูกที่อาจเกิดขึ้นได้ จะช่วยให้ลูกเติบโต…เรารู้ว่าความสำเร็จมากมายที่เกิดขึ้น เกิดจากความล้มเหลวมาก่อนแทบทั้งสิ้น…เราจะมอบมรดกที่สำคัญที่สุดให้ลูกได้ […]
ในการเรียนรู้ของเราทุกคนอาจมีอุปสรรคในการเรียนเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะเด็กๆซึ่งอยู่ในวัยของการเรียนรู้ที่ต้องมีครูและคุณพ่อคุณแม่เป็นผู้สอน เด็กอาจจะยังควบคุมหรืออดทนกับข้อจำกัดของตนเองไม่ได้ดีเท่าผู้ใหญ่ ครูและคุณพ่อคุณแม่มีบทบาทสำคัญมากที่ต้องเข้าใจและให้เวลาในการสังเกต เพื่อช่วยให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและให้เด็กมีความสุขในการเรียน อันที่จริงถ้าเด็กเรียนรู้ได้ดีอย่างมีความสุข คุณครูและคุณพ่อคุณแม่ก็ย่อมมีความสุขไปด้วยเช่นเดียวกัน แต่ก็อาจจะไม่เป็นเช่นนั้นในความเป็นจริง เพราะหากเด็กต้องเรียนรู้ผ่านวิธีการที่ไม่ถนัดอาจส่งผลต่อความเข้าใจ ความสนใจ ความสุขในการเรียนรู้ ดังนั้น ถ้าคุณพ่อคุณแม่ หรือคุณครูสามารถรู้ได้ว่าเด็กแต่ละคนมีความถนัดในการรับรู้ด้วยรูปแบบวิธีการใด ก็จะสามารถช่วยลดปัญหาการเรียนรู้ให้กับเด็กได้ วันนี้พี่อ้อยมีข้อมูลดี ๆ เป็นแนวทางในการสังเกตหรือ จะใช้เป็นเครื่องมือในการค้นหาความถนัดในการเรียนรู้ของเด็กมาแนะนำนะคะ ในรายงานผลการวิเคราะห์จากการสแกนลายผิว P-PAC ได้อธิบายถึงรูปแบบการเรียนรู้เฉพาะบุคคลที่มีความถนัดแตกต่างกัน แบ่งออกเป็น 5 รูปแบบ ดังนี้ การเรียนรู้ผ่านการมองเห็น (Visual Type) เด็กกลุ่มนี้จะมีความไวในการใช้สายตาในการมองเห็นภาพและสังเกตรายละเอียด และจะชอบมองหรือสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว การอ่านหนังสือ การดูภาพ และการจดจำสัญลักษณ์ ก็จะมีความไวเพราะ เด็กสามารถเรียนรู้และเข้าใจผ่านสิ่งที่มองเห็นได้ดี การเรียนรู้ผ่านการฟัง (Decoding Type) เด็กกลุ่มนี้ถนัดการเรียนรู้ผ่านการฟัง การเรียนรู้ที่ต้องได้ยินเสียง อธิบายให้ฟัง หรือการเรียนรู้ผ่านเสียง จะทำให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้น มักจะชอบการอ่านออกเสียง ชอบฟังคำอธิบาย ชอบฟังเพลง ฟังพอดแคสต์ พูดกับตัวเองเพื่อเรียบเรียงความคิด ใช้ความคิดผ่านการพูด การเรียนรู้ผ่านการคิด (Encoding Type) เป็นการเรียนรู้ที่ต้องได้ใช้ความคิดและตกผลึกความคิดด้วยตนเอง รวมถึงทำความเข้าใจในรูปแบบของตนเอง […]
วงการวิทยาศาสตร์ได้มีการศึกษาวิจัยเรื่องลายผิวมากนานเกือบ 200 ปีแล้วแต่ผู้คนจำนวนมากอาจไม่เคยทราบ เช่น ค.ศ.1880 Sir Francis Galton นักมานุษย์วิทยาชาวอังกฤษ ผู้ซึ่งเป็นญาติของ Charles Darwin เริ่มศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลายผิวกับการบ่งชี้เอกลักษณ์เฉพาะบุคคล เป็นต้นลายผิวมีอยู่ทั้งบริเวณนิ้วมือ นิ้วเท้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า แต่ลายผิวส่วนที่มีความสำคัญที่สุดในการอ่านแผนที่ศักยภาพที่ซ่อนไว้ของแต่ละบุคคล นั่นคือ ลายนิ้วมือ เรามาลองรู้จักแผนที่ข้อมูลศักยภาพบุคคลผ่านลายนิ้วมือแต่ละนิ้ว รวมทั้งความเชื่อมโยงกันของแต่ละศักยภาพ นิ้วชี้ซ้าย แผนที่ศักยภาพ ด้านการคิดเชิงจินตภาพ การคิดสร้างสรรค์ จินตภาพหรือภาพที่เกิดขึ้นในใจ คนที่สมองส่วนนี้โดดเด่นจะเห็นภาพเป็นมิติเหมือนการต่อจิกซอว์ เลโก้ หรือเห็นภาพเป็นเรื่องราวได้ต่อเนื่องเสมือนอยู่ในเหตุการณ์นั้น รวมทั้งมีความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาได้ง่าย เราจึงมักเรียกอีกอย่างว่า ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดด้านจินตภาพโดดเด่นจะช่วยให้การเรียนที่ต้องเกี่ยวข้องกับทฤษฎีทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งนักวิเคราะห์จะพบบ่อยในการเรียนด้านฟิสิกส์ คณิตศาสตร์โดยเฉพาะชั้นมัธยมปลายสายวิทย์-คณิต เนื่องจากเป็นวิชาที่จะต้องคิดพลิกแพลงไม่สามารถท่องจำได้มากนัก ส่วนด้านอาชีพก็จะพบได้หลากหลายสาขา เช่น คอมพิวเตอร์ (ช่วงนี้ Metaverse กำลังมาแรง เรียกว่า โลกเสมือนจริงเหมือนที่ดูในภาพยนตร์) งานด้านสถาปัตยกรรม การออกแบบ นักวางแผนการตลาด งานด้านcreative นักวางแผนกลยุทธ์ งานด้านนวัตกรรม นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ นักสร้างภาพยนตร์ […]
หลังจากที่เราทราบแล้วว่าแผนที่นิ้วชี้ซ้ายและขวา สะท้อนพรสวรรค์และแนวโน้มพฤติกรรมอะไรบ้าง เรามาลองดูให้รู้ลึกกันลงไปอีกว่า หากส่วนผสมของทั้งสองส่วนมีความแตกต่างกันในหลายรูปแบบจะมีผลต่อแนวโน้มพฤติกรรมอย่างไร ผู้เกี่ยวข้องควรเข้าใจและให้การดูแลอย่างไรบ้าง (นิ้วชี้ซ้าย แผนที่ศักยภาพด้านการคิดเชิงจินตภาพ การคิดสร้างสรรค์ นิ้วชี้ขวา แผนที่ศักยภาพด้านการคิดเชิงตรรกะเหตุผล) กรณีที่ 1 ศักยภาพทั้งสองแข็งแรงมาก สิ่งที่เราจะเห็นได้ชัดเจน คือ เด็กหรือคน ๆ นั้นจะมีความช่างสงสัย มีคำถามที่เจาะลงถึงรายละเอียด ความเชื่อมโยง ข้อขัดแย้ง ต้องการข้อพิสูจน์หรือการทดลองเพื่อยืนยันความคิดนั้นว่าถูกต้อง ดังนั้นแนวโน้มพฤติกรรมสำหรับคนกลุ่มนี้จึงไม่เชื่ออะไรง่าย ยิ่งหากอยู่ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ถูกหล่อหลอมด้วยความรู้แบบวิทยาศาสตร์ด้วยแล้ว หากพิสูจน์ไม่ได้ก็ยากที่จะเชื่อสนิทใจเช่นกัน พฤติกรรมอีกอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ความเชื่อมั่น ความคาดหวัง และมั่นใจในความคิดตนเองสูง เมื่อกำลังสนใจข้อมูลใด ก็จะตั้งใจฟังและคิดตามด้วยการจดจ่ออย่างยิ่ง จึงมีสมาธิสูงไม่สนใจสิ่งรอบข้าง อาจไม่แสดงการโต้ตอบทันใดในขณะที่กำลังคิดประมวลผลทำความเข้าใจเรื่องนั้นอยู่ ทำให้ผู้คนรอบข้างมักเข้าใจผิดว่า คิดช้าหรือคิดตามไม่ทัน หรือกำลังเหม่อลอยฝันกลางวันอยู่ ซึ่งนักวิเคราะห์ก็ได้พบพฤติกรรมเช่นนี้กับลูกค้ากลุ่มนี้เสมอ จึงควรตอบสนองเชิงพฤติกรรมโดยให้ผู้ฟังซักถามให้เต็มที่ รวมถึงการให้ข้อมูลแบบละเอียด ค่อยเป็นค่อยไป คอยถามกลับเป็นระยะถึงความเข้าใจ จากความโดดเด่นของสมองส่วนการคิดเชิงจินตภาพหรือการคิดสร้างสรรค์ และความคิดเชิงตรรกะเหตุผล ลักษณะงานที่โดดเด่นจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มทักษะ ดังนี้ งานวิชาการ หรืองานที่เน้นความรู้แนวคิดวิเคราะห์ เช่น นักคณิตศาสตร์ การเงิน กฎหมาย บัญชี งานวิเคราะห์ข่าว วิเคราะห์หุ้น […]