กว่าจะมาเป็น P-PAC
หลายคนคงยังสงสัยและตั้งคำถามในใจว่าการวิเคราะห์ด้วยลายนิ้วมือ จะเหมือนกับหมอดูลายมือหรือเปล่า ลายนิ้วมือหรือลายผิวที่นูนขึ้นมาบนฝ่ามือและฝ่าเท้าของคนเรานั้นมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า“Dermatoglyphics” เป็นศาสตร์ที่ผ่านการค้นคว้าทางการแพทย์มากว่าร้อยปีแล้ว แม้แต่หน่วยงาน Federal Bureau of Investigation (FBI)ในสหรัฐอเมริกาก็ยังมีการศึกษาลายนิ้วกับแนวโน้มพฤติกรรมในอาชญากร จึงต่างจากวิชาโหราศาสตร์อย่างสิ้นเชิงก่อนที่ ซีพี ออลล์ จะตัดสินใจตั้ง “P-PAC” ขึ้นมานั้น เราได้ศึกษาข้อมูลกันอย่างจริงจัง ซึ่งในปัจจุบัน“Dermatoglyphics” เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีรายงานผลการศึกษาด้านการแพทย์หลายฉบับที่ยืนยันความเชื่อมโยงของลายผิวที่ฝ่ามือ กับโรคทางสมอง และทางโรคพันธุกรรมได้ นอกจากนี้การใช้ลายนิ้วมือยังสามารถระบุตัวบุคคลได้ชัดเจนกว่า DNA เสียอีก เพราะคู่แฝดแท้หรือฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกันจะมี DNA เหมือนกัน แต่โอกาสที่คนสองคนจะมีลายนิ้วมือทั้งสิบนิ้วเหมือนกันนั้น มีความเป็นไปได้เพียง 1 ส่วน64,000,000,000 เท่านั้นอาจารย์เหลียนเล่าให้ฟังว่า เมื่อตอนที่เริ่มศึกษาลายนิ้วมือใหม่ๆเทคโนโลยียังไม่ทันสมัย จึงใช้วิธีเดียวกับสถานีตำรวจพิมพ์นิ้วทำประวัติผู้ต้องหา ใช้หมึกดำพิมพ์ทีละนิ้วจนมือลูกค้าเลอะเทอะไปหมด เท่านั้นยังไม่พอ เมื่อได้ตัวอย่างมาแล้วเวลาจะแยกแยะรูปร่างของแต่ละนิ้วก็ต้องใช้แว่นขยายมาส่องดูกัน เจอลูกค้ามือใหญ่ก็ดีหน่อย เจอลูกค้าเด็กๆหรือมือเล็กๆ ก็ส่องกันจนหน้ามืดทีเดียว แต่เดี๋ยวนี้สบาย ใช้เครื่องสแกนส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ จะขยายเท่าไหร่ก็ได้ ดูง่ายดายไปหมดแต่แม้ว่าเทคโนโลยีจะสร้างความสะดวกเพียงใด หัวใจของการวิเคราะห์ก็ต้องอาศัยความชำนาญของนักวิเคราะห์อยู่ดี กระบวนการตั้งศูนย์วิเคราะห์ศักยภาพนั้น Software และHardware เตรียมได้ไม่ยาก ที่ยากที่สุดเห็นจะเป็นการเตรียม Humanwareเพื่อให้ได้นักวิเคราะห์ที่มีทั้งทักษะความรู้ มีบุคลิกที่เหมาะสมและยึดมั่นในจริยธรรม ทีมงานได้ประกาศสรรหาจากบุคลากรภายใน ตอนแรกมีคนสนใจมากมายขอเข้าอบรมกว่าร้อยคน […]