ppac, สแกนลายผิว, สแกนลายนิ้วมือ, ค้นหาตัวตน, cpall, วิเคราะห์ศักยภาพ

P-PAC สำหรับบุคคลทั่วไป

cpall, PPAC, ค้นหาตัวตน, ค้นหาศักยภาพ, วิเคราะห์ศักยภาพ, สแกนลายนิ้วมือ, สแกนลายผิว

นอกจากการวิเคราะห์บุคคลภายในบริษัทแล้ว P-PAC ยังเปิด
บริการให้แก่บุคคลภายนอก ซึ่งกลายเป็นว่าเป็นลูกค้าภายนอกมากกว่า
ภายในองค์กรเสียอีก ปัจจุบันลูกค้าของ P-PAC มีตั้งแต่เด็กอายุสอง
สามเดือน ไปจนถึงผู้บริหารระดับสูงในองค์กรต่างๆ และมีแนวโน้มว่า
จะมีลูกค้ากลุ่มบุคคลทั่วไปมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนนักศึกษา

สำหรับบุคคลทั่วไปแล้ว ประโยชน์ของการเข้าใจตัวเองทำให้เรา
ไม่ยึดติดกับตัวตนมากเกินไป สามารถเปิดใจยอมรับผู้อื่นมากขึ้น และ
ยังวางแผนชีวิตตนเองได้ดียิ่งขึ้น ในขณะที่ผู้ปกครองที่นำบุตรหลานมา
ใช้บริการ ต้องการรู้จักวิธีดูแลบุตรหลาน กระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการได้
เหมาะสมถูกต้อง บางคนอาจมีคำถามว่าอายุมากแล้วรู้ไปก็แก้ไขไม่ได้
ซึ่งความจริงแล้วการรู้จักตนเองนั้น อายุ 50 ปีก็ยังไม่สาย คนเราในแต่
ละช่วง เวลาย่อมมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันไป วัยเด็กมีหน้าที่ศึกษา
เล่าเรียน เมื่อเรียนจบประกอบอาชีพการงาน จากนั้นสร้างฐานะครอบครัว
ทุกช่วงเวลาล้วนแล้วแต่มีเป้าหมายชีวิตแตกต่างกันไป การรู้จักตนเอง
ทำให้เราไม่ไขว้เขวไปตามสภาพแวดล้อม มีสมาธิอยู่กับทิศทางที่ชัดเจน
อาจารย์เหลียนได้เปรียบเทียบลักษณะบุคลิกภาพและพฤติกรรม
หลักของมนุษย์โดยใช้ลักษณะของนก 5 ประเภทเป็นตัวแทนบุคลิก
หลัก ได้แก่
นกเหยี่ยว เน้นผลลัพธ์ ควบคุมเป้าหมาย ต้องการความ
ชัดเจนตรงประเด็น
นกห่านป่า เน้นการทำตามมาตรฐาน มีความระมัดระวัง
เคารพกติกา ใส่ใจในคุณภาพและรายละเอียด
นกยูง เน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ชอบแบ่งปัน
ใส่ใจในภาพลักษณ์ มีชีวิตชีวา ชอบให้ความร่วมมือ
นกกระจอกเทศ เน้นการทำงานด้วยความอดทน ไม่ชอบ
บรรยากาศความขัดแย้ง มีความกลมเกลียว
อ่อนโยน ให้ความร่วมมือกับทีม
นกแก้ว เน้นการปรับตัวและการบูรณาการข้อมูล
ชอบการเปลี่ยนแปลง หลีกเลี่ยงการตัดสินใจในทันที

นกทั้ง 5 ชนิดเป็นสัญลักษณ์แนวโน้มในการแสดงออกเชิง
พฤติกรรม แบ่งเป็นการกำหนดเป้าหมาย จุดยืนและคุณค่าของตัวตน
วิธีการทำงาน การวางแผนการตัดสินใจ และการผูกสัมพันธ์กับผู้อื่น
นกยูงมักจะเป็นผู้ริเริ่มเข้าไปแนะนำตัวเอง นกกระจอกเทศจะหลบมุม
ในงานเลี้ยง หรือนกแก้วจะสนุกสนานอารมณ์ดี ฯลฯ คนส่วนใหญ่จะ
มีนกตัวหลักและนกตัวรองประกอบ 1 – 4 ตัว เพิ่มความซับซ้อนใน
บุคลิกภาพ

การที่ผลวิเคราะห์ออกมาว่าเป็นประเภท “เหยี่ยว” นั้นก็ไม่ได้
หมายความว่าเหนือกว่า “นกกระจอกเทศ” นกแต่ละประเภทนั้นเป็นเพียง
ตัวแทนบุคลิกของแต่ละคน ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้ว่าคนนั้น
เก่งกว่าคนนี้ อย่างเพื่อนร่วมงานผมคนหนึ่งเป็นนกเหยี่ยวที่มีห่านป่า
เป็นตัวรอง วิธีการทำงานของเพื่อนร่วมงานคนนี้จะมีทั้งจุดเด่นของเหยี่ยว
คือมุ่งเป้าหมาย และจุดเด่นของนกห่านป่าคือสนใจเน้นคุณภาพทุก

ขั้นตอนรายละเอียด เป็นที่รู้กันว่าถ้าเจอหัวหน้างานลักษณะนี้ ลูกน้อง
ประเภทเช้าชามเย็นชามอยู่ไม่ได้แน่ เพราะนอกจากต้องการผลลัพธ์ที่
มีคุณภาพแล้ว ยังติดตามความคืบหน้าของงานทุกขั้นตอนรายละเอียด
อย่างใกล้ชิด ที่สำคัญเมื่อมอบหมายงานที่หนึ่งให้ไปแล้ว ก็จะมีงานที่สอง
รออยู่ทันทีไม่ว่าท่านจะทำงานแรกเสร็จแล้วหรือยังก็ตาม ดังนั้นการรับมือ
กับหัวหน้าประเภทนี้มีอยู่ทางเดียวคือต้องรวดเร็วฉับไว รีบส่งมอบงาน
ให้เสร็จก่อนกำหนดได้ยิ่งดี

ลักษณะที่คล้ายๆกันนี้มีอยู่ในตัวของเพื่อนร่วมงานอีกคนหนึ่ง ซึ่ง
เป็นพวก“นกห่านป่า”ที่มี“เหยี่ยว”เป็นบุคลิกรอง คนนี้ก็มุ่งผลลัพธ์ ลง
รายละเอียดติดตามงานเหมือนกัน ต่างกันตรงที่เน้นเรื่องขั้นตอนการ
ทำงานเป็นพิเศษ ถ้ามีหัวหน้าแบบนี้ขอให้คิดและปฏิบัติอย่างมีระบบ ที่
สำคัญต้องขยันทุ่มเทกับการทำงาน

ในกรณีบุคลิกของ“นกกระจอกเทศ”ซึ่งโดดเด่นในเรื่องความอดทน
สามารถทำงานได้ดีในสภาพแวดล้อมหรืองานที่คุ้นเคย แต่ถ้าให้อยู่ใน
งานเลี้ยงที่ไม่มีคนรู้จักหรือในกลุ่มเพื่อนใหม่พยายามปลีกตัวหามุม
สงบ และสนุกสนานกับปาร์ตี้อย่างเงียบๆ ส่วนบุคลิกประเภท“นกแก้ว”
จะต่างกันไป นกแก้วให้ความสนใจกับสิ่งใหม่ๆ ชอบการเปลี่ยนแปลง
และนกแก้วสามารถจะสนุกสนานไปกับสภาพแวดล้อมใหม่ได้อย่าง
รวดเร็ว แม้ว่าจะเพิ่งเข้ากลุ่มเป็นครั้งแรกก็ตาม

ด้วยความแตกต่างในบุคลิกของแต่ละคนนี่เอง ที่ก่อให้เกิดปัญหา
ความขัดแย้ง เป็นผลมาจากการไม่เข้าใจความคิดของกันและกัน ไม่รู้จัก
วิธีการสื่อสารระหว่างกัน ยกตัวอย่างลูกค้าสามีภรรยาคู่หนึ่ง ทั้งคู่แต่งงาน
กันมาหลายปี มีปัญหาความคิดเห็นไม่ลงรอยกันเป็นประจำ ฝ่ายชาย
เป็น“นกยูง” สนุกสนานเฮฮา มีเพื่อนฝูงมากมายและชอบออกงาน
สังคมเป็นประจำ ขณะที่ฝ่ายภรรยาเป็น“นกกระจอกเทศ” ชอบอยู่อย่าง
สงบไม่ชอบออกงานสังคม ปัญหาเพียงเท่านี้ก็อาจสร้างความร้าวฉานให้
กับชีวิตคู่ได้ การทำให้ทั้งคู่เข้าใจธรรมชาติของอีกฝ่ายมากยิ่งขึ้น สามารถ.
ลดความขัดแย้งระหว่างกันได้ โดยอาศัยการปรับเข้าหากันคนละนิด ช่วย
เสริมจุดอ่อนซึ่งกันและกัน
อีกตัวอย่างหนึ่งเป็นกรณีของคู่สมรสระหว่างนกแก้วกับเหยี่ยว
ฝ่ายชายเป็นนกแก้ว โดยพื้นฐานแล้วจะไม่ชอบตอบคำถามแบบฟันธง
เพราะไม่ต้องการผูกมัดกับคำตอบ อยากเหลือช่องว่างสำหรับการเปลี่ยน
แปลงบ้าง ขณะที่ฝ่ายหญิงซึ่งเป็นเหยี่ยวนั้นต้องการความชัดเจน กระชับ
ตรงไปตรงมา ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ เพียงแค่การบอกเวลากลับบ้านก็อาจ
ทำให้ผิดใจกันได้ เมื่อก่อนฝ่ายชายเวลาติดงานจะกลับบ้านช้า ฝ่ายภรรยา
โทรมาถามก็จะตอบว่าเดี๋ยวกลับ ถามกี่ครั้งก็เดี๋ยวกลับ แต่บุคลิกของ
เหยี่ยวนั้นต้องการความชัดเจนไม่ชอบความคลุมเครือ เพียงแค่ตอบให้
ได้ว่าดึกนั้นกี่โมงกันแน่จะได้ไม่ต้องคอย เมื่อรู้ปัญหาและช่วยกันปรับตัว
เข้าหากันก็ทำให้ความขัดแย้งลดลง เดี๋ยวนี้ถ้าภรรยาถามว่าจะกลับเมื่อไหร่
ฝ่ายชายจะตอบทันทีว่าไม่เกินทุ่มครึ่ง เพียงแค่นี้ชีวิตคู่ก็มีความสุขมากขึ้นแล้ว

คัดลอกมาจากหนังสือ CEO กับความรัก บทที่ 14

อ่านบทความอื่นๆ Click link

Leave a comment