cpall, PPAC, ค้นหาตัวตน, ค้นหาศักยภาพ, วิเคราะห์ศักยภาพ, สแกนลายนิ้วมือ, สแกนลายผิว

เทคนิคการเลี้ยงดูลูกนกที่มีบุคลิกภาพซับซ้อน

       เทคนิคการเลี้ยงดูลูกนกที่มีบุคลิกภาพซับซ้อน

              หลายครั้งที่มีคำถามจากคุณพ่อคุณแม่ในการเลี้ยงดูลูก แล้วเกิดปัญหาว่าไม่เข้าใจในพฤติกรรมของลูก ๆ ถึงแม้พยายามใช้การสื่อสารกับลูก ๆ แบบเปิดตำราอ่านกันเลยว่าเด็กต้องใช้วิธีการเลี้ยงดูและสื่อสารแบบไหนดีที่เหมาะสม แต่ก็ยังไม่ได้รับคำตอบหรือผลลัพธ์ที่คาดหวัง

การวิเคราะห์บุคลิกภาพของ P-PAC เป็นเครื่องมือที่ช่วยอธิบายและบอกลักษณะบุคลิกภาพของลูกที่มีความผสมผสาน และมีความซับซ้อนทั้งทางด้านพฤติกรรมและการสื่อสาร  รวมถึงคุณพ่อคุณแม่จะมีวิธีการรับมือในการเลี้ยงดูลูก ๆ ให้มีความสุข พร้อมกับการพัฒนาศักยภาพ ด้วยความเข้าใจในความเป็นตัวตนของลูกที่แท้จริง

สำหรับกรณีศึกษาที่นักวิเคราะห์นำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ เป็นผลการวิเคราะห์ของเด็กค่ะ  จากรายงานผลการวิเคราะห์  พบว่า  ในบุคลิกภาพโดยรวมนั้น มีส่วนผสมของบุคลิกภาพนกอยู่ด้วยกัน 3 นก ประกอบด้วย บุคลิกภาพนกหลัก คือ นกเหยี่ยว และบุคลิกภาพนกรอง 2 นกด้วยกัน คือ นกยูง และนกกระจอกเทศค่ะ  ลองมาติดตามกันดูนะคะว่า จะมีความเชื่อมโยงหรือความขัดแย้งที่น่าสนใจ และมีมุมใดที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมในการทำความเข้าใจลูกของเราเพื่อเป็นเทคนิคให้คุณพ่อคุณแม่ไปใช้ในการเลี้ยงดูลูกกันค่ะ

นกเหยี่ยวลูกผสม มีลักษณะ พฤติกรรมและการสื่อสาร   ดังนี้ค่ะ นกเหยี่ยว  ที่เป็นเด็กจะมีความเป็นตัวของตัวเองสูง รักอิสระ  ไม่ชอบอยู่ภายใต้การควบคุมและการถูกออกคำสั่ง  เลือกทำในสิ่งที่ตนเองสนใจ และเป็นเป้าหมาย  ชอบความท้าทาย ใจร้อน ต้องการผลลัพธ์ที่รวดเร็ว ไม่สนใจในรายละเอียด สื่อสารเฉพาะเรื่องที่ต้องการกับคนที่เป็นเป้าหมาย

ส่วนความเป็น นกกระจอกเทศ เด็กจะมีความกังวลหรือกลัวสำหรับการเผชิญกับสิ่งใหม่ที่ไม่คุ้นเคยอยู่บ้าง  ยังคงต้องการกำลังใจ และการใส่ใจจากคนที่รัก คุ้นเคยและไว้ใจ รวมถึงยังต้องการคำแนะนำในบางเรื่องที่ยังไม่มั่นใจ และอาจจะทำให้ลังเล ดูเหมือนไม่กล้า หรือไม่ตัดสินใจเลือกทำสิ่งใด ๆ ก็ตามที่ตัวเองไม่แน่ใจ จะไม่เสี่ยง และไม่ชอบความท้าทาย รับมือกับความกดดันได้ไม่ดีนัก จิตใจยังอ่อนไหวโดยเฉพาะกับคนในสายสัมพันธ์ หรือคนที่คาดหวัง สำหรับประสบการณ์ใหม่ ๆ อาจต้องการเวลา ไม่ชอบเร่งหรือถูกบังคับ แต่ถ้าเรื่องไหนที่คุ้นเคย และมั่นใจแล้ว ก็พร้อมลุย และไม่ชอบให้ใครมาสอนหรือเซ้าซี้ ในเรื่องเดิม ๆ  

ทั้งนี้ในความเป็น  นกยูง  เด็กชอบอยู่ในบรรยากาศที่มีสีสัน มีความ  รื่นรมย์ผ่อนคลายไม่ตึงเครียด เป็นเด็กที่สนุกสนานกับสิ่งใหม่ ๆ มีชีวิตชีวา ต้องการเป็นคนสำคัญ และต้องการมีภาพลักษณ์ดีที่คนอื่นมองเห็นและชื่นชม ซึ่งอาจส่งผลกับการแสดงตัวบนเวที หรือการปรากฏกายในสังคมใหม่  นกยูง ในบางครั้งจะดูเหมือนไม่ชอบแสดงตัว อันเนื่องมาจากความกังวลกับสิ่งที่ไม่คุ้นเคยหรือยังทำได้ไม่ดีเพราะความกังวัลและกลัวของ นกกระจอกเทศ รวมไปถึงในลักษณะความเป็น นกเหยี่ยว ก็จะเลือกเวที หรือทำในสิ่งที่เป็นเป้าหมายของตนเองเท่านั้น ไม่ชอบการถูกบังคับว่าต้องทำอะไรที่ไม่ใช่เป้าหมายของตัวเอง  หรือถึงแม้จะเป็นเป้าหมายถ้าไม่พร้อมและสมบูรณ์แบบจากการประเมินของตนเองก็ไม่ทำ กลุ่มคนที่ดูไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายก็ไม่ทำ คำชมจากคนที่ไม่ใช่เป้าหมายก็ไม่สำคัญและไม่รู้สึกยินดี หรือดีใจ

จากผลการวิเคราะห์ในลักษณะบุคลิกภาพของนก 3 ประเภท จะเห็นได้ว่ามีความขัดแย้งกันอยู่ในตัวเองหลายเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจและอาจต้องระวังในการสื่อสารหรือจัดสิ่งแวดล้อมในการเลี้ยงดูและจัดกิจกรรมในการเรียนรู้ของลูกที่มีลักษณะของนกในแต่ละแบบที่มีความซับซ้อนและขัดแย้งกันในตนเองเช่นนี้ และอาจต้องมีการผสมผสานรูปแบบในการนำไปใช้ให้เหมาะสมกับจังหวะ เวลา และในสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป นักวิเคราะห์มีข้อแนะนำและเทคนิคในการนำไปใช้ในการเลี้ยงดูลูกที่มีลักษณะบุคลิกนกเหยี่ยวลูกผสม เป็นตัวอย่างดังนี้ค่ะ

  1. การสื่อสารเป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิด และให้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ภายใต้บรรยากาศที่มีสีสัน          ผ่อนคลายไม่ตึงเครียด ใช้คำพูดที่นุ่มนวลและเป็นมิตร ที่แฝงไปด้วยภาษากายที่อบอุ่น
  2. ชื่นชมและให้กำลังใจ โดยให้ความรู้สึกเชื่อมั่นในความเก่งและศรัทธา ในตัวตนของเด็ก ให้เด็กรู้สึกถึงการยอมรับและ        การให้เกียรติ
  3. จัดสิ่งแวดล้อมและการหาทรัพยากรองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ มีความทันสมัย ไม่น่าเบื่อ
  4. ไม่บังคับ หรือเร่งสำหรับกิจกรรมใหม่ หรือชี้นำ ใช้วิธีการสร้างแรงจูงใจในเชิงท้าทาย เล็ก ๆ กับเรื่องที่อยู่ในความสนใจของเด็ก (ผู้ปกครองต้องประเมินก่อน)
  5. ส่งเสริมความสามารถด้านที่ถนัด ฝึกฝนให้เชี่ยวชาญ หาโอกาสหรือเวทีให้ได้แสดงความสามารถ โดยมีการพูดคุยกันก่อน  ในการเตรียมตัว
  6. ฝึกการทบทวนอารมณ์ การควบคุมอารมณ์ และการสะท้อนความรู้สึก รวมถึงวิธีการสื่อสารที่เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์

สำหรับคำแนะนำที่นักวิเคราะห์นำมาฝากในบทความนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่ง หากจะลงลึกลงไป และดึงข้อมูลจากผลการวิเคราะห์ในด้านอื่น ๆ มาใช้ประกอบด้วยก็จะยิ่งลึกซึ้ง และเข้าถึงลูก ๆ มากยิ่งขึ้น และอาจจะเชื่อมโยงไปใช้กับการพัฒนาศักยภาพในด้านที่    ลูก ๆ มีความถนัดด้วยนะคะ ลองติดตามอ่านในบทความฉบับต่อไปกันค่ะว่านักวิเคราะห์จะนำกรณีศึกษาในด้านใดของรายงานผลการวิเคราะห์มาแบ่งปันกันนะคะ

บทความ โดย พัชราภรณ์ คงสวัสดิ์ (นักวิเคราะห์ศักยภาพ P-PAC)

อ่านบทความอื่นๆ Click link

Leave a comment