P-PAC
วิถีนกยูง ตอน เคล็ด (ไม่ลับ) สำหรับจัดการกับน้องนกยูง
05/07/2020
-
วิถีนกยูง ตอน เคล็ด (ไม่ลับ) สำหรับจัดการกับน้องนกยูง
พวกเราคงเคยพาลูกมาวิเคราะห์ลายผิวกันแล้วใช่มั้ยคะ ลองถามตัวเองสิว่าลูกเราเป็นน้องนกยูงแบบไหนกันแน่ ไหนบอกว่านกยูงชอบแสดงออกไง แต่เวลาอยู่กับเพื่อน ๆ ดูเหมือนจะขี้อายด้วยซ้ำ เกิดอะไรขึ้นคะ บางคนร้อนใจมาก เพราะเผอิญคุณแม่ก็เป็นแม่นกยูงเหมือนกัน ทำไมลูกถึงไม่เหมือนแม่เลย เฮ้อ !! กลุ้มใจจัง
ค่ะ ?เป็นนกยูงเหมือนกันก็ใช่ว่าวิธีการแสดงออกจะเหมือนกันนะคะ แถมยังมีนกยูงหลายสายพันธุ์อีก คุณแม่อาจเป็นนกยูงร้อยเปอร์เซนต์ พร้อมโชว์ในทุกที่ทุกสถาน แต่ลูกอาจจะเป็นนกยูงผสมนกกระจอกเทศก็ได้ ทำให้ไม่สบายใจถ้าต้องแสดงออกท่ามกลางคนแปลกหน้า เพราะธรรมชาติของนกกระจอกเทศจะแสดงออกได้ดีกับสังคมที่คุ้นเคยกันมากกว่า ถ้าเป็นนกยูงผสมนกแก้วก็เช่นกัน ความเป็นนกแก้วก็จะทำให้นกยูงตัวนี้ไม่แสดงอะไรที่เกินเหตุค่ะ ด้วยธรรมชาติของนกแก้วจะสังเกตคนรอบข้างก่อนว่าเขาทำอะไรกัน นกแก้วก็จะไม่ทำอะไรที่แตกต่างไปจากกลุ่ม นอกจากนี้ยังมีลักษณะเสริมอื่น ๆ อีกที่ทำให้น้องนกยูงมีความแตกต่าง เช่น มีลักษณะของ Lively ก็จะไม่ชอบอดทนรอคอยอะไรนาน ๆ ก็จะหงุดหงิดง่าย เป็นต้น
?แต่วันนี้เราจะมาเจาะประเด็น เคล็ด (ไม่ลับ) สำหรับจัดการกับน้องนกยูงค่ะ แม้นกยูงจะมีหลายสายพันธุ์ แต่สิ่งหนึ่งที่น้องนกยูงมีเหมือนกันคือ ต้องการการยอมรับจากคนที่อยู่ด้วยสูงมาก ทั้งจากพ่อแม่ พี่น้อง เพื่อน คุณครู และผู้คนในสังคม และสิ่งที่น้องนกยูงไม่ชอบมาก ๆ คือ คำตำหนิ หรือ คอมเมนต์ (แม้จะเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ก็ตาม) ประมาณว่าอย่ามาทำให้หนูเสียหน้าได้มั้ย ทำไมแม่ต้องดุหนูต่อหน้าคุณป้า หรือเด็กข้างบ้านด้วยล่ะ จากเด็กน่ารักก็ดูงอแง ไม่เชื่อฟังไปเลย ถ้าเจออย่างนี้ คุณแม่หลายคนงงมาก ๆ อ้าวสอนดี ๆ กลายเป็นแม่ไปดุหนูซะแล้ว แล้วแม่ต้องทำไงล่ะ ง่ายมากค่ะ
คุณแม่ต้องรักษาหน้าน้องด้วยการหาข้อแก้ตัวให้น้องไปก่อนค่ะ ไม่ถือเป็นการตามใจนะคะ เพราะเราจะต้องมานั่งคุยกับน้องตอนอยู่กันสองคนอีกที เวลามาคุยกันประสาแม่ ๆ ลูก ก็ต้องทำบรรยากาศสบาย ๆ นะคะ อย่าตึงเครียด และหาเรื่องมาชื่นชมน้องก่อนเสมอ เช่น หนูเคยเป็นเด็กน่ารักนะคะ แต่หนูอาจมีเรื่องคิดใช่มั้ยคะ เลยลืมมองคุณป้า ไม่ยกมือไหว้ คุณป้าเสียใจมากเลย แม่รู้ว่าหนูเป็นเด็กน่ารักคงอยากไปโทรศัพท์ขอโทษคุณป้าใช่มั้ยคะ คุณป้าคงจะดีใจมาก นั่นคือเราต้องใช้ศิลปะในการพูดเพื่อชื่นชมและจูงใจให้น้องทำสิ่งที่ถูกต้องค่ะ พอน้องเห็นว่าเราไม่ได้ดุน้อง ไม่ได้บังคับด้วย แถมเสนอทางออกที่สวยงามให้ น้องก็จะเต็มใจที่จะทำตามที่เราบอกค่ะ และเมื่อน้องทำตามแล้ว ก็ต้องชื่นชมน้องซ้ำนะคะ เช่น หนูเก่งมาก เป็นเด็กดีของแม่จริง ๆ เพื่อทำให้น้องรับรู้ว่าทำแบบนี้คนจะชอบ น้องนกยูงก็จะมีความสุข ถ้าเราใช้วิธีนี้บ่อย ๆ น้องก็จะเริ่มเรียนรู้วิธีทำให้คนรักค่ะ เพราะหัวใจสำคัญของนกยูงคืออยากให้คนรอบตัวเห็นความสำคัญของตนเอง และรักตนเอง
❗️ข้อสำคัญอย่าชมให้ทำเรื่องไม่ดีนะคะ เช่น หลอกคุณครูว่าทำการบ้านเอง แต่จริง ๆ ไปลอกเพื่อน อันนี้ห้ามชมค่ะ เพราะจะกลายเป็นนิสัยไม่ดี ถ้าเกิดกรณีนี้ขึ้นจริง ๆ เราต้องนั่งคุยกับน้องเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมทันทีค่ะ ด้วยการใช้ศิลปะการชื่มชมน้องแบบเดิมค่ะ เช่น แม่รู้นะว่าหนูไม่ตั้งใจ เราไปขอโทษคุณครูมั้ยคะ หรือถ้าน้องไม่ขยันอ่านหนังสือเรียน เราก็ต้องชมค่ะว่า แม่รู้นะว่าหนูสมองดี ถ้าหนูขยันอ่านหนังสือ หนูจะเก่งกว่าใครเลย แถมจะเป็นตัวอย่างที่ดีของเพื่อน ๆ ด้วย คุณครูต้องรักหนูมากเลย
?โดยสรุป เคล็ด(ไม่ลับ)ในการจัดการน้องนกยูง ง่ายมาก ช่วยชื่มชมและเห็นความสำคัญของเธอ ชมก่อนทำ พอทำแล้ว ก็ยังต้องชมซ้ำ หลักการง่าย ๆ แค่นี้เองค่ะ และถ้าไปอ่านในรายงานผลวิเคราะห์ แล้วพบว่าน้องมีลักษณะที่แตกต่างออกไป ก็อาจจะสอบถามหรือฟังผลซ้ำได้ค่ะ เราจะได้เข้าใจและจัดการน้องได้อย่างถูกต้อง
บทความ โดย อุมาพร บรรจงศร (นักวิเคราะห์ศักยภาพ P-PAC)
อ่านบทความอื่นๆ Click link