ppac, สแกนลายผิว, ค้นหาศักยภาพ, สแกนลายนิ้วมือ,ค้นหาตัวตน

ห่วงลูกจัง…ทำอย่างไรให้ลูกๆ ดูแลตัวเองได้ในภาวะโควิด 😌

ppac, สแกนลายผิว, ค้นหาศักยภาพ, สแกนลายนิ้วมือ,ค้นหาตัวตน

 

 
คุณแม่คุณพ่อหลายท่านอาจอยู่ในภาวะกังวลในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อโควิด19 นี้ น่าจะอยากรู้เทคนิคว่าจะสอนลูกอย่างไรให้ลูกระมัดระวังตนเองในขณะที่อยู่บ้าน หรือเมื่อลูกต้องออกไปเผชิญกับสังคมภายนอกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในที่สุด
 
📌ประกอบกับลูกเองก็มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ค่อยรับฟัง บางครอบครัวมีลูกหลายคนทำให้เราต้องจัดการกับลูกที่มีบุคลิกแตกต่างกัน และยังต้องบริหารการเรียนให้ลูกเรียน on-line ที่บ้านอีก ต้องคอยกำหนดบทบาทและต้องคอยกำกับกติกากัน เรื่องงานของตนเองก็ต้องจัดการ หลายคนบอกว่า…อยากแบ่งร่างให้มีหลายคนจังค่ะ
 
📌ใจเย็นๆ นะคะ พี่นกจะแนะนำให้ใช้เทคนิคคุยกับลูกแบบนี้ดู เชื่อว่าเราจะเบาใจขึ้นค่ะ และน่าจะเป็นประโยชน์ไม่ใช่เพียงภาวะโรคระบาดแต่สามารถปรับใช้กับเหตุการณ์อื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยค่ะ
 
👧ใช้คำถามเพื่อสังเกตลูกว่า ลูกมีความรู้สึกอย่างไรกับสถานการณ์ปัจจุบันนี้ เช็คว่าเขารู้วิธีการป้องกันตนเองมากน้อยแค่ไหน เราจะให้เขาแสดงความรู้สึกได้เต็มที่และสื่อสารให้เขาเข้าใจอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ ตัวอย่างคำถามนะคะ “แม่เข้าใจว่าหนูรู้สึกกังวลใช่ไหมลูก? หรือหนูรู้ไหมทำไมไปเล่นกับเพื่อนไม่ได้?”
 
👧อย่าลืมว่าลูกเราอายุเท่าไหร่ด้วยนะคะ หากเราสังเกตหรือได้ฟังผลวิเคราะห์ของ P-PACแล้วเราเปิดรายงานด้วยค่ะว่าน้องเป็นนกอะไร ใช้ภาษาที่เหมาะกับวัยและลักษณะบุคลิกที่ลูกเป็นด้วย ผลลัพธ์ที่เราต้องการจะง่ายขึ้นเยอะ
 
👶 หากเป็นลูกเล็กๆ เราสามารถแนะนำวิธีการป้องกันตนเองด้วยความสนุกสนาน หรือชวนลูกเปิดคลิปดูวิธีการป้องกันตัวจากเชื้อโรค เวลาล้างมือเราก็แต่งเป็นเพลงร้องไปด้วย เราจะไม่จับหน้าบ่อยๆ ล้า…ลา…ลา… เราจะยืนห่างจากเพื่อน เวลาไอให้ใช้ข้อศอกป้องก่อน เป็นต้น
 
📌 สำคัญมาก! ทำให้เขามีความเชื่อมั่นหรือมั่นใจว่าเหตุการณ์จะผ่านไปได้และเราทุกคนในบ้านจะช่วยกัน หรือถ้าเป็นในที่สุด ก็สามารถรักษาหายได้ คุณแม่คุณพ่อก็ไม่ควรแสดงความรู้สึกกังวลมากจนทำให้ลูกรู้สึกไม่มั่นคงด้วยค่ะ
 
📌 ใช้มุมมอง what if เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกได้ค่ะ โดยพูดคุยกับลูกเพื่อป้องกันเหตุการณ์ในอนาคต เช่น ถ้าลูกไอแล้วถูก bully เราจะฟังลูกด้วยความตั้งใจ หรือเมื่อเพื่อนแกล้งหรือท้าทายไอใส่ เขาจะจัดการมันอย่างไร เรากำลังสร้างขบวนการฝึกฝนให้ลูกคิดและจัดการปัญหา หรือหากลูกคิดไม่ออก เราอาจเสนอทางเลือกให้ลูกโดยให้คำแนะนำว่าลูกอาจคุยกับคนที่ลูกรู้สึกไว้ใจได้ในทุกครั้งที่เกิดปัญหา อาจเป็นครูหรือคุณแม่คุณพ่อเอง ลูกสามารถเลือกได้
 
🏠 อย่าลืมนะคะ ระหว่างที่เราอยู่บ้าน เราควรให้เขาช่วยกำหนดตารางชีวิตให้ชัดเจนถ้าเขาโตพอ โดยแนะนำเขาว่า ช่วงเวลาใดเป็นเวลาที่เขาต้องเรียน หรือช่วงเวลาใดเป็นช่วงเวลาของเขาที่สามารถพักผ่อนได้
 
📱 ระวังลูกติดมือถือ ติดจอคอมพิวเตอร์ หรือติดทีวี ฝึกฝนให้ลูกมีความสามารถควบคุมตนเองได้โดยตกลงกติกาในบ้านให้ชัดเจนด้วยค่ะ
เพิ่มเติมว่าเทคนิคนี้หากมีท่านที่เคยมาฟังผลการวิเคราะห์ลูกแล้ว…
 
🦅 ถ้าลูกเป็นนกเหยี่ยว-เราอาจปรับให้เขาคิดวิธีการเองเพื่อที่เขาจะจดจำสิ่งนี้เสมอได้นะคะ หรืออาจให้ทางเลือกว่าลูกจะใช้วิธีไหน ลูกเลือกได้
 
🦆ลูกห่านป่า-อาจจะบอกให้เขาเป็นกำลังสำคัญในครอบครัว ช่วยตักเตือนคนอื่นๆ ได้ค่ะ เช่นลูกอาจช่วยเตือนคนในครอบครัวว่า ล้างมือกันหรือยัง? ทำไมไม่ใช้ข้อศอกบังเวลาไอ? บางทีแม้เราไม่ได้สอนแต่… เราอาจจะเห็นลูกห่านมาบอกให้เราทำ หรือมีคำถามถามเราเยอะมาก 5555
 
🦚 ลูกนกยูง-ที่ชอบการแบ่งปัน อาจให้เขาช่วยสอนหรือแนะนำวิธีกับพี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ ได้
 
👧 ถ้าลูกเป็นนกกระจอกเทศ-อาจทำเป็นต้นแบบให้ดู หรือชวนทำไปพร้อม ๆ กันบ่อยขึ้น ก็จะเรียนรู้ได้ดี
 
🦜 และลูกนกแก้ว-ให้เขามีส่วนในการช่วยหาเทคนิคและวิธีการหรือความรู้มาแบ่งปันกันในครอบครัวค่ะ
 
ลองทำดูค่ะ
 
ลูกคุณมีพฤติกรรมแบบไหน? แสดงกันออกมาบ้างไหมคะ?
 
อยากให้ทุกท่านfeedback แบ่งปันกันนะคะ
 
ลองแชร์เทคนิคกันดูใน FBเพื่อประโยชน์ร่วมกันได้ค่ะ
 
ขอแสดงความห่วงใย และขออวยพรให้ทุกท่านมีสติในการจัดการการเผชิญโรคโควิด
 
มีสุขภาพที่แข็งแรง ปลอดภัยไปด้วยกันค่ะ
 
👨‍❤️‍👨👨‍❤️‍👨👨‍❤️‍👨👨‍❤️‍👨👨‍❤️‍👨👨‍❤️‍👨👨‍❤️‍👨👨‍❤️‍👨👨‍❤️‍👨👨‍❤️‍👨
บทความโดย คุณนก ธนัญกรณ์ เดชโชติอธิวัฒน์
นักวิเคราะห์ ศูนย์วิเคราะห์ศักยภาพปัญญธารา P-PAC
🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺

อ่านบทความอื่นๆ Click link

Leave a comment