ppac, สแกนลายผิว, ค้นหาศักยภาพ

#ลูกต้องเรียนพิเศษหรือไม่❓ #ความจำเป็นหรือค่านิยม❓

ในยุคปัจจุบัน คำว่า “เรียนพิเศษ” มักจะอยู่ควบคู่กับเรื่องการเรียนของเด็ก ๆ เสมอ เราจะเห็นได้ว่าโรงเรียนกวดวิชาดัง ๆ บางแห่งอาจจะต้องรีบไปจองแต่เช้าหรือบางทีต้องจองข้ามปี ยิ่งตอนนี้การเรียนพิเศษเริ่มขยายเข้าไปในช่วงวัยที่เด็ก ๆ อายุยังน้อย ๆ อยู่เลย เช่น กำลังเรียนชั้นอนุบาลแต่ต้องเริ่มเรียนพิเศษเพื่อจะได้เตรียมสอบเข้าชั้นประถมในโรงเรียนดี ๆ สิ่งเหล่านี้ดูเหมือนเป็นค่านิยมที่เราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ อย่างไรก็ตามกระแสความคิดที่เริ่มเกิดขึ้นตอนนี้จากการที่ได้พูดคุยกับลูกค้าหลาย ๆ ท่านที่มีลูกอยู่ในช่วงวัยที่หลากหลายทำให้เห็นว่ามี 3 กระแสหลัก ๆ ในความคิดของคุณพ่อแม่ และกระแสที่เริ่มมาทีหลังแต่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะขอนำมาพูดถึงเป็นอันดับแรก คือ
 
 
👉🏻#ไม่ต้องเรียนพิเศษ เป็นกระแสที่เกิดจากปัญหาของค่านิยมในการเรียนพิเศษชนิดที่ว่าไม่มีเวลาทำอะไรเลยในชีวิตของเด็ก ในกระแสนี้ผู้ปกครองจะมุ่งเน้นให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองและคิดว่าการเรียนพิเศษไม่จำเป็นหากลูกเข้าใจในเนื้อหาหรือบทเรียนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี แต่ดูที่ความสนใจของเด็กเป็นหลัก ถ้าคิดว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่เด็กสนใจจริง ๆ พ่อแม่อาจจะให้เรียนเพิ่ม แต่จะไม่ใช่การเรียนพิเศษทุกวิชาเพียงเพราะต้องเรียนตามเพื่อน หรือเพียงเพราะต้องการผลคะแนนที่ดีเท่านั้น
 
 
👉🏻#เรียนพิเศษเพื่อให้เกรดการเรียนดีที่สุด ส่วนใหญ่กระแสนี้ยิ่งพ่อแม่มีความรู้ลูกก็มักจะยิ่งได้เรียนพิเศษมาก แน่นอนผลพวงที่คาดหวังคือ ต้องทำทุกอย่างให้ได้ดีที่สุดซึ่งต้องทุ่มเทและแลกกับชีวิตบางส่วนในวัยเด็กที่หายไป ค่านิยมของความสมบูรณ์แบบยังเป็นที่นิยมในสังคม
 
 
👉🏻#เรียนก็ได้ไม่เรียนก็ได้ เป็นกระแสที่ไม่มีแนวคิดชัดเจน จึงทำตามความรู้สึกหรือแล้วแต่ปัจจัยต่าง ๆของแต่ละครอบครัวที่ไม่มีความแน่ชัด เข้าทำนองทำไว้ก่อนอย่างน้อยสบายใจ
แน่นอนสำหรับพ่อแม่การเรียนพิเศษต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ลูกต้องยอมแลกเวลาของชีวิตและทุ่มเทกับสิ่งที่เราคิดว่าคุ้มค่าอย่างน้อยก็ในความรู้สึกของพ่อแม่เอง แต่สำหรับลูกคือทำไมหนูต้องเรียนพิเศษ ทั้งที่ในโรงเรียนก็เรียนเยอะอยู่แล้ว คำตอบของพ่อแม่คือ เป็นความหวังดีที่มีต่อลูกและมันน่าจะดีกว่าหากเรียนเยอะไว้ก่อน 😊
 
 
🥰นักวิเคราะห์🥰 มีข้อแนะนำอย่างนี้ครับ พ่อแม่ควรมองให้ออกถึงทิศทางชีวิตในอนาคตของลูก อย่างน้อยต้องผ่านกระบวนการคิดโดยดูถึงปัจจัยด้านธรรมชาตินิสัยของลูก ความสามารถของลูก รวมทั้งความคาดหวังที่จำเป็นของครอบครัวที่มีต่อลูก เมื่อรวมสิ่งเหล่านี้ได้เพื่อใช้เป็นแนวทางที่ต้องส่งเสริมและฝึกฝนลูกแล้ว ก็จะตอบได้ว่า ต้องเรียนพิเศษอะไร? ซึ่งในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแต่ทางด้านวิชาการเท่านั้น แต่อาจรวมถึงกิจกรรม ทักษะมนุษยสัมพันธ์ ทักษะการลงทุน เป็นต้น
 
 
🖋คำว่าเรียนพิเศษในที่นี้จึงมีความหมายที่กว้างออกไป ไม่ได้มุ่งเน้นแต่เรื่องเรียนเพื่อให้ได้เกรดดี ๆ หรือสอบเข้าโรงเรียนดี ๆ เปรียบเสมือนว่าหากลูกต้องการยึดอาชีพเป็นนักเล่นเปียโน ลูกก็ต้องซ้อมมากกว่าเรื่องอื่น ๆ พ่อแม่ต้องหาครูมาสอน ต้องวางแผนจัดเวลาสำหรับการฝึกซ้อม ลงทุนเครื่องมืออุปกรณ์ รวมทั้งหาข้อมูลสิ่งที่ลูกต้องพบเจอเมื่ออยู่ในเส้นทางอาชีพนี้ ซึ่งการมีเป้าหมายที่ค่อนข้างชัดเจนจะทำให้การเรียนพิเศษ ไม่เป็นการเรียนที่เสียเปล่าแต่กลับจำเป็นและทำให้ลูกเดินไปสู่ความสำเร็จที่วางแผนไว้อย่างสมเหตุสมผล
 
📌โดยพี่เจน สุชาติ เจนมธุกร (นักวิเคราะห์ศักยภาพ P-PAC)

อ่านบทความอื่นๆ Click link

Leave a comment