ทำไมช่วงอายุ 2-7 ปีถึงมีความสำคัญมากสำหรับการพัฒนาสมอง
เมื่ออัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ยังเป็นเด็ก คงไม่มีใครคาดคิดว่าเขาจะมีผลงานที่โดดเด่นทางวิทยาศาสตร์ให้กับโลกนี้ได้มากขนาดไหน เพราะในวัยเด็กไอน์สไตน์มีพัฒนาการทางภาษาล่าช้า ทำให้พ่อแม่ของเขากังวลจนถึงขั้นต้องปรึกษาแพทย์ พี่สาวของเขาเคยสารภาพว่าไอน์สไตน์ “มีปัญหาเกี่ยวกับภาษาจนคนรอบข้างกลัวว่าเขาจะไม่มีวันเรียนรู้” เด็กคนนี้เปลี่ยนจากพัฒนาการที่ล่าช้าไปสู่การเป็นไอน์สไตน์ได้อย่างไร
ส่วนหนึ่งของคำตอบอาจจะเริ่มต้นจากของขวัญสองชิ้นที่ไอน์สไตน์ได้รับจากพ่อแม่ของเขา เมื่อไอน์สไตน์อายุได้ 5 ขวบ พ่อให้เข็มทิศแก่เขา สำหรับไอน์สไตน์มันเป็นอุปกรณ์ลึกลับที่จุดประกายความอยากรู้อยากเห็นทางวิทยาศาสตร์ของเขา มันมีพลังงานอะไรบางอย่างที่ทำให้เข็มทิศหมุนไปตามทิศต่าง ๆ ได้ ไม่นานหลังจากนั้น แม่ของไอน์สไตน์ซึ่งเป็นนักเปียโนที่มีความสามารถ ได้มอบไวโอลินให้ไอน์สไตน์ ของขวัญทั้งสองอย่างนี้ท้าทายสมองของไอน์สไตน์ในรูปแบบที่โดดเด่นและในเวลาที่เหมาะสม
สมองของเด็กที่พัฒนาอย่างรวดเร็วและเรียกได้ว่าเป็นช่วงที่สำคัญมาก มีอยู่ 2 ช่วง ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่ออายุประมาณ 2 ขวบ และครั้งที่สองเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่น ในช่วงเริ่มต้นของช่วงเวลาเหล่านี้ จำนวนการเชื่อมต่อ (ไซแนปส์) ระหว่างเซลล์สมอง (เซลล์ประสาท) จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า เด็กวัย 2 ขวบมีไซแนปส์มากเป็นสองเท่าของผู้ใหญ่ เนื่องจากการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมองเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ ไซแนปส์ที่มากเป็นสองเท่าทำให้สมองเรียนรู้ได้เร็วกว่าช่วงเวลาอื่น ๆ ของชีวิต ดังนั้นประสบการณ์ของเด็กในระยะนี้จึงส่งผลระยะยาวต่อพัฒนาการของเด็ก
ช่วงเวลาสำคัญของการพัฒนาสมองช่วงแรกเริ่มเมื่ออายุประมาณ 2 ขวบ และสิ้นสุดเมื่ออายุประมาณ 7 ขวบ ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญที่จะวางรากฐานสำหรับการศึกษาแบบองค์รวมสำหรับเด็ก อย่าลืมนะคะว่าสมองมี 2 ซีก แบ่งเป็นซีกซ้ายและซีกขวา ซึ่งสมองทั้ง 2 ซีกมีการทำงานที่แตกต่างกัน สมองซีกซ้าย (Left Hemisphere) จะทำหน้าที่ควบคุมการคิดการหาเหตุผล การแสดงออกเชิงนามธรรมที่เน้นรายละเอียด เช่น การนับจำนวนเลข การบอกเวลา และความสามารถในการเรียบเรียงถ้อยคำที่เหมาะสม เป็นต้น สมองซีกขวา (Right Hemisphere) จะทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ การจินตนาการ การสังเคราะห์ ความซาบซึ้ง ในดนตรีและศิลปะ ความสามารถในการหยั่งหามิติต่าง ๆ และการใช้ประโยชน์จากรูปแบบและรูปทรงเรขาคณิต
สมองซีกขวาพัฒนาก่อนสมองซีกซ้าย เด็กที่อยู่ในวัยทารกจนถึงวัย 2 ขวบ จะสามารถพัฒนาสมองซีกขวาได้ดี เพราะสมองซีกขวาเปิดและเป็นซีกที่มีอิทธิพลในช่วงวัยเด็ก การเรียนรู้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องใช้ความพยายามอะไรเลย เด็กเล็กต้องสนุกกับกระบวนการเรียนรู้แทนที่จะเน้นที่ประสิทธิภาพ โดยสามารถเน้นถึงความสุขในการลองทำกิจกรรมใหม่ ๆ และเรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ พ่อแม่ต้องช่วยให้เด็ก ๆ เข้าใจว่าความผิดพลาดเป็นเรื่องปกติของการเรียนรู้
ส่วนสมองซีกซ้ายจะเริ่มมีอิทธิพลก็เมื่อเด็กมีอายุ 3 ขวบขึ้นไป ซึ่งการเรียนรู้ด้วยสมองซีกซ้ายนั้น เด็กต้องมีสติ มีสมาธิและความพยายาม มากกว่าสมองซีกขวาถึงแม้ว่าสมองทั้งสองซีกของเรานั้นจะมีการทำงานที่แตกต่างกัน แต่ถ้าหากเราสามารถพัฒนาสมองของลูกน้อยให้ใช้สมองทั้งสองซีกในเวลาเดียวกันได้ล่ะก็ จะทำให้ลูกน้อยเพิ่มศักยภาพในการเรียนได้เป็นอย่างดีทีเดียวเลยค่ะ
#สนใจสแกนลายผิว #สแกนลายผิว #PPAC #บทความ
อ่านบทความอื่นๆ Click link