Cpall, PPAC, ค้นหาตัวตน, ค้นหาศักยภาพ, วิเคราะห์ศักยภาพ, สแกนลายนิ้วมือ, สแกนลายผิว

รูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมของเด็ก

ในการเรียนรู้ของเราทุกคนอาจมีอุปสรรคในการเรียนเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะเด็กๆซึ่งอยู่ในวัยของการเรียนรู้ที่ต้องมีครูและคุณพ่อคุณแม่เป็นผู้สอน เด็กอาจจะยังควบคุมหรืออดทนกับข้อจำกัดของตนเองไม่ได้ดีเท่าผู้ใหญ่ ครูและคุณพ่อคุณแม่มีบทบาทสำคัญมากที่ต้องเข้าใจและให้เวลาในการสังเกต เพื่อช่วยให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและให้เด็กมีความสุขในการเรียน

Cpall, PPAC, ค้นหาตัวตน, ค้นหาศักยภาพ, วิเคราะห์ศักยภาพ, สแกนลายนิ้วมือ, สแกนลายผิว
Cpall, PPAC, ค้นหาตัวตน, ค้นหาศักยภาพ, วิเคราะห์ศักยภาพ, สแกนลายนิ้วมือ, สแกนลายผิว


อันที่จริงถ้าเด็กเรียนรู้ได้ดีอย่างมีความสุข คุณครูและคุณพ่อคุณแม่ก็ย่อมมีความสุขไปด้วยเช่นเดียวกัน แต่ก็อาจจะไม่เป็นเช่นนั้นในความเป็นจริง เพราะหากเด็กต้องเรียนรู้ผ่านวิธีการที่ไม่ถนัดอาจส่งผลต่อความเข้าใจ ความสนใจ ความสุขในการเรียนรู้ ดังนั้น ถ้าคุณพ่อคุณแม่ หรือคุณครูสามารถรู้ได้ว่าเด็กแต่ละคนมีความถนัดในการรับรู้ด้วยรูปแบบวิธีการใด ก็จะสามารถช่วยลดปัญหาการเรียนรู้ให้กับเด็กได้ วันนี้พี่อ้อยมีข้อมูลดี ๆ เป็นแนวทางในการสังเกตหรือ จะใช้เป็นเครื่องมือในการค้นหาความถนัดในการเรียนรู้ของเด็กมาแนะนำนะคะ

ในรายงานผลการวิเคราะห์จากการสแกนลายผิว P-PAC ได้อธิบายถึงรูปแบบการเรียนรู้เฉพาะบุคคลที่มีความถนัดแตกต่างกัน แบ่งออกเป็น 5 รูปแบบ ดังนี้

  • การเรียนรู้ผ่านการมองเห็น (Visual Type) เด็กกลุ่มนี้จะมีความไวในการใช้สายตาในการมองเห็นภาพและสังเกตรายละเอียด และจะชอบมองหรือสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว การอ่านหนังสือ การดูภาพ และการจดจำสัญลักษณ์ ก็จะมีความไวเพราะ เด็กสามารถเรียนรู้และเข้าใจผ่านสิ่งที่มองเห็นได้ดี
  • การเรียนรู้ผ่านการฟัง (Decoding Type) เด็กกลุ่มนี้ถนัดการเรียนรู้ผ่านการฟัง การเรียนรู้ที่ต้องได้ยินเสียง อธิบายให้ฟัง หรือการเรียนรู้ผ่านเสียง จะทำให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้น มักจะชอบการอ่านออกเสียง ชอบฟังคำอธิบาย ชอบฟังเพลง ฟังพอดแคสต์ พูดกับตัวเองเพื่อเรียบเรียงความคิด ใช้ความคิดผ่านการพูด
  • การเรียนรู้ผ่านการคิด (Encoding Type) เป็นการเรียนรู้ที่ต้องได้ใช้ความคิดและตกผลึกความคิดด้วยตนเอง รวมถึงทำความเข้าใจในรูปแบบของตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่จะสามารถพัฒนาความคิดของเด็ก โดยการใช้ถามเพื่อให้เด็กใช้ความคิดเชิงเหตุผล วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ หรือ การประเมินเพื่อจะตอบคำถามเหล่านั้น แต่ต้องให้เวลาในการคิดเพื่อทำให้การเรียนรู้และความเข้าใจอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การเรียนรู้ผ่านการเคลื่อนไหว/ทำ (Kinesthetic Type) การเรียนรู้ที่ต้องได้มีการลงมือปฎิบัติ สัมผัส จับต้องสิ่งของต่าง ๆ ชอบเคลื่อนไหวร่างกาย มากกว่าการดูหรือฟัง เด็กได้ลงมือกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง ผ่านการทำกิจกรรม การลงมือปฏิบัติจริงในสภาพแวดล้อมจริง ได้ฝึกคิด ฝึกทำ ฝึกปฏิบัติ ฝึกทักษะ ไปจนถึงค้นคว้าในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือถนัดด้วยตนเอง เด็กจะมีแรงจูงใจ มีความสุขในการเรียน และเรียนรู้เข้าใจได้ดี
  • การเรียนรู้จากแรงจูงใจ (Motive Type) เป็นการเรียนรู้ที่ต้องมีจูงใจทั้งภายในและภายนอกเป็นแรงขับเคลื่อนที่ทำให้เด็กเกิดพฤติกรรมในการเรียนรู้ในทุก ๆ รูปแบบ สำหรับแรงจูงใจภายในของเด็กจะมาจากความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ความรู้สึกที่มั่นคง ความคิด ทัศนคติ ความสนใจ ความชอบ ที่มาจากตนเอง ในเด็กบางคนอาจจะรวมถึงแรงจูงใจภายนอกที่เกิดจากการถูกกระตุ้นจากภายนอกจิตใจของเด็กด้วย เช่น ไม่ถูกกดดัน มีสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่ชอบ ผู้สอนและวิธีการสอน ต้องการการยอมรับ หรือเกิดการมีของรางวัลที่ต้องการมาล่อใจ ทำให้เด็กเกิดแรงขับเคลื่อน หรือแรงผลักดันในการแสดงออกทางพฤติกรรมอย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายอย่าง เพื่อให้บรรลุในการเรียนรู้ แรงจูงใจทั้งสองด้านที่กล่าวมา จะช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ซึ่งสามารถเรียนรู้ ผ่านระบบประสาทสัมผัส การดู การฟัง การทำ การคิด ได้เป็นอย่างดีการสนับสนุนเด็ก ๆ ในเรื่องการจัดสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ตามความถนัดของพวกเขา จะช่วยให้กระบวนการการเรียนรู้เป็นไปได้อย่างราบรื่น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความมั่นใจและโอกาสในการเรียนรู้ได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยคุณครูและพ่อแม่ผู้ปกครองสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวมาไปเป็นแนวทางให้การสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก ๆ เพื่อที่เด็กๆ จะได้มีความสุขไปพร้อม ๆ กับความสำเร็จของพวกเขานะคะ

โดย พี่อ้อย พัชราภรณ์ คงสวัสดิ์ นักวิเคราะห์ศักยภาพ P-PAC

บทความอื่นๆ Click link

Leave a comment