Cpall, PPAC, ค้นหาตัวตน, ค้นหาศักยภาพ, วิเคราะห์ศักยภาพ, สแกนลายนิ้วมือ, สแกนลายผิว

รู้จักลูกผ่านแผนที่พรสวรรค์ (นิ้วชี้ซ้าย นิ้วชี้ขวา)

Cpall, PPAC, ค้นหาตัวตน, ค้นหาศักยภาพ, วิเคราะห์ศักยภาพ, สแกนลายนิ้วมือ, สแกนลายผิว
Cpall, PPAC, ค้นหาตัวตน, ค้นหาศักยภาพ, วิเคราะห์ศักยภาพ, สแกนลายนิ้วมือ, สแกนลายผิว

วงการวิทยาศาสตร์ได้มีการศึกษาวิจัยเรื่องลายผิวมากนานเกือบ 200 ปีแล้วแต่ผู้คนจำนวนมากอาจไม่เคยทราบ เช่น ค.ศ.1880 Sir Francis Galton นักมานุษย์วิทยาชาวอังกฤษ ผู้ซึ่งเป็นญาติของ Charles Darwin เริ่มศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลายผิวกับการบ่งชี้เอกลักษณ์เฉพาะบุคคล เป็นต้น
ลายผิวมีอยู่ทั้งบริเวณนิ้วมือ นิ้วเท้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า แต่ลายผิวส่วนที่มีความสำคัญที่สุดในการอ่านแผนที่ศักยภาพที่ซ่อนไว้ของแต่ละบุคคล นั่นคือ ลายนิ้วมือ เรามาลองรู้จักแผนที่ข้อมูลศักยภาพบุคคลผ่านลายนิ้วมือแต่ละนิ้ว รวมทั้งความเชื่อมโยงกันของแต่ละศักยภาพ

นิ้วชี้ซ้าย แผนที่ศักยภาพ ด้านการคิดเชิงจินตภาพ การคิดสร้างสรรค์

  • จินตภาพหรือภาพที่เกิดขึ้นในใจ คนที่สมองส่วนนี้โดดเด่นจะเห็นภาพเป็นมิติเหมือนการต่อจิกซอว์ เลโก้ หรือเห็นภาพเป็นเรื่องราวได้ต่อเนื่องเสมือนอยู่ในเหตุการณ์นั้น รวมทั้งมีความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาได้ง่าย เราจึงมักเรียกอีกอย่างว่า ความคิดสร้างสรรค์
  • ความคิดด้านจินตภาพโดดเด่นจะช่วยให้การเรียนที่ต้องเกี่ยวข้องกับทฤษฎีทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งนักวิเคราะห์จะพบบ่อยในการเรียนด้านฟิสิกส์ คณิตศาสตร์โดยเฉพาะชั้นมัธยมปลายสายวิทย์-คณิต เนื่องจากเป็นวิชาที่จะต้องคิดพลิกแพลงไม่สามารถท่องจำได้มากนัก
  • ส่วนด้านอาชีพก็จะพบได้หลากหลายสาขา เช่น คอมพิวเตอร์ (ช่วงนี้ Metaverse กำลังมาแรง เรียกว่า โลกเสมือนจริงเหมือนที่ดูในภาพยนตร์) งานด้านสถาปัตยกรรม การออกแบบ นักวางแผนการตลาด งานด้านcreative นักวางแผนกลยุทธ์ งานด้านนวัตกรรม นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ นักสร้างภาพยนตร์ นักหมากรุก นักเขียนนวนิยาย เป็นต้น
  • ด้านแนวโน้มพฤติกรรมคนที่มีสมองส่วนจินตภาพโดดเด่นจะสร้างแรงขับในการคิดสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆได้มาก มีผลต่อความเชื่อมั่นในตนเอง เพราะมองเห็นภาพความเป็นไปได้ทั้งที่เรื่องนี้อาจยังไม่เคยเกิดจริง บางครั้งจึงถูกเรียกว่า คิดเพ้อฝัน ดังนั้นจินตนาการจะช่วยในการต่อยอดความคิด สร้างสิ่งใหม่ ๆ ไม่ว่าเราทำงานอะไรก็ตามแม้กระทั่งการทำอาหาร เป็นต้น

นิ้วชี้ขวา แผนที่ศักยภาพ ด้านการคิดเชิงตรรกะเหตุผล

  • สมองส่วนการคิดเชิงตรรกะจะทำหน้าที่ในการสร้างหลักการหรือสมมติฐานเพื่ออธิบายว่ากระบวนการของสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นอยู่เกิดขึ้นได้อย่างไร มีอะไรเป็นปัจจัยหรือส่วนประกอบและทำงานร่วมกันอย่างไรจึงให้ผลเช่นนั้น
  • คนที่มีสมองส่วนตรรกะโดดเด่นจึงมีพฤติกรรมช่างสงสัย ชอบตั้งคำถาม มีความสามารถในการอธิบายสิ่งต่าง ๆ ในเชิงกระบวนการอย่างเป็นเหตุเป็นผล รวมทั้งมีความสามารถในการโต้แย้งโดยยกข้อมูลมาเปรียบเทียบเพื่อชี้ให้เห็นความขัดแย้งได้
  • ความคิดด้านตรรกะเหตุผลโดดเด่นจะช่วยให้การเรียนและอาชีพที่ต้องเกี่ยวข้องกับการคิดวิเคราะห์ทำได้ง่ายขึ้น เช่น นิติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ปรัชญา คณิตศาสตร์ โปรแกรมเมอร์ บัญชี การเงิน นักวิเคราะห์หุ้น วิศวกรรม งานด้านเทคนิค นักพูด นักวิชาการ รวมทั้งด้านการสืบสวนสอบสวนด้วย
  • ด้านแนวโน้มพฤติกรรมคนที่มีสมองส่วนตรรกะเหตุผลโดดเด่นจะต้องการทราบข้อมูลในรายละเอียดเพื่อทำการวิเคราะห์และประเมินว่าสิ่งนั้นถูกหรือผิด ทำให้มีความมั่นใจว่าความคิดของตนเองถูก หากผู้อื่นจะทำให้เชื่อหรือคล้อยตามได้จะต้องสามารถหาเหตุผลที่ทำให้ยอมรับในตรรกะนั้นได้ด้วย ทำให้นักวิเคราะห์พบว่าคนกลุ่มนี้จะต้องการเวลาและเหตุผลมากเพียงพอที่จะทำความเข้าใจเรื่องนั้นเสียก่อนจึงจะทำความเข้าใจข้อมูลหรือความรู้ส่วนที่เกี่ยวเนื่องและซับซ้อนมากขึ้นต่อไป บางครั้งการที่ปัญหายังไม่ได้รับการคลี่คลายก็มีผลทำให้คน ๆ นั้นเปลี่ยนเส้นทางการเรียนจากสายวิทยาศาสตร์ไปสายสังคมศาสตร์อยู่ไม่น้อยและเข้าใจว่าตนเองไม่มีความสามารถในด้านนี้

โดย คุณเจน สุชาติ เจนมธุกร – นักวิเคราะห์ศักยภาพ P-PAC

บทความอื่นๆ Click link

Leave a comment