Cpall, PPAC, ค้นหาตัวตน, ค้นหาศักยภาพ, วิเคราะห์ศักยภาพ, สแกนลายนิ้วมือ, สแกนลายผิว

ลูกดื้อจัง

Cpall, PPAC, ค้นหาตัวตน, ค้นหาศักยภาพ, วิเคราะห์ศักยภาพ, สแกนลายนิ้วมือ, สแกนลายผิว

“ลูกดื้อจัง” ประโยคนี้เป็นได้ทั้งประโยคบอกเล่า หรือตัดพ้อ ถอดใจ บ่นว่า ดุ และอีกมากมาย ตามน้ำเสียงที่ใช้

แต่ไม่ว่าจะด้วยอารมณ์ไหน ความหมายเดียวที่เกิดขึ้นคือ ลูกไม่ให้ความร่วมมือ ไม่ยอมทำตามที่พ่อแม่ต้องการ จริงไหมคะ?

ค่อนข้างเป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับพ่อแม่ทุกคน ทั้งเหนื่อย ทั้งปากเปียกปากแฉะก็แล้ว ลูกก็ยังดื้อรั้น ไม่ยอมทำ

เช่น ให้อ่านหนังสือ ทำการบ้าน ก็นั่งเล่นเกม ให้รีบอาบน้ำ แต่งตัวไปโรงเรียน ก็นั่งชิว เฉื่อยแฉะ จนแม่ต้องทั้งเคี่ยวและเข็ญให้ทำ

กว่าจะเสร็จก็ทำให้ไปโรงเรียนสาย และ อีกมากมาย ที่สามารถเล่าได้ทั้งวันถึงวีรกรรมความดื้อของลูก

แล้วจะแก้ปัญหาความดื้อของลูกได้อย่างไร? ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจสาเหตุความดื้อของลูกก่อนค่ะ

  • แบบที่หนึ่ง ดื้อเพราะตัวตนสูง

อันนี้หนักสุดค่ะ เพราะคนตัวตนสูง ก็อยากทำอะไรที่ตัวเองชอบเท่านั้น ถ้าถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่ชอบหรือสมัครใจด้วยตนเอง ก็จะเกิดแรงต่อต้านทันที ซึ่งภาษาพ่อแม่เรียกว่า ดื้อ นั่นเอง วิธีจัดการ ในเมื่อเด็กต้องการทำอะไรที่ตัวเองชอบหรือสมัครใจ เราก็แค่ส่งตัวเลือกให้ค่ะ เช่น จะกินข้าวหรือก๋วยเตี๋ยวดี แปลว่าไม่ได้บังคับนะ หนูมีสิทธิเลือกค่ะ ถ้าเด็กไม่มีความคิดในด้านอื่น การตัดสินใจเลือกตัวใดตัวหนึ่งที่เราให้ก็จะง่ายค่ะ แต่ที่ยากคือ เด็กไม่ชอบทั้งสองอย่างที่ส่งให้เลือก เราก็อาจจะต้องส่งใหม่ค่ะ เช่น หนูจะกินข้าวก่อนไปโรงเรียน หรือจะเก็บไว้ไปกินที่โรงเรียนตอนกลางวันคะ หมายความว่าถ้าตอนนี้ไม่กิน ก็อดค่ะ จะได้กินอีกทีตอนกลางวัน ถ้าทนหิวไหวก็ตามใจ เด็กที่รู้คิดก็อาจจะเลือกกินเลยให้เสร็จค่ะ เป็นต้น

สรุป ห้ามบังคับเคี่ยวเข็ญ คุยกันแบบผู้ใหญ่เชิงปรึกษาหารือ หนูจะเอาแบบไหนดีลูก เด็กก็จะสบายใจและภูมิใจว่าเขามีสิทธิเลือกเองค่ะ ซึ่งพ่อแม่ที่เข้าใจตัวตนของลูกก็แค่ส่งตัวเลือกที่ดีที่พ่อแม่คุยกันแล้วว่าลูกเลือก choiceไหนก็รับได้หมด แค่นี้ลูกก็ไม่ ดู ดื้อ ในสายตาเราอีกต่อไป

  • แบบที่สอง ดื้อเพราะมีความเป็นตัวของตัวเองสูง

อาจจะงงใช่มั้ยคะว่า ไม่เหมือน ตัวตนสูงหรือคะ แบบมีความเป็นตัวของตัวเองนี่ แรงน้อยกว่าค่ะ เพราะเราใส่เป้าหมาย หรือสิ่งที่ต้องการให้ทำได้ ไม่ขัดขืน แต่ไม่ชอบให้บังคับวิธีการค่ะ ถ้าพูดอย่างนี้ คุณพ่อคุณแม่ห่านป่าทั้งหลายจะไม่ค่อยชอบใจ เพราะเราอยากให้ลูกทำตามขั้นตอนที่เราบอก 100% แต่เด็กที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ชอบที่จะมีอิสระในการเลือกวิธีการจัดการตาม style ของตัวเองค่ะ จะอึดอัดมากถ้าพ่อแม่มาคอยยืนกำกับให้ทำ หรือจุกจิก ลงรายละเอียดมากมาย ก็จะพาลหงุดหงิดและเกิดแรงต้านขึ้นมาทันที ประมาณว่าถ้าต้องละเอียดเข้มข้น กำกับทุกขั้นตอนอย่างนี้ หนูไม่ทำแล้วค่ะ เชิญคุณพ่อคุณแม่ทำเองดีกว่าไหมคะจะได้สบายใจถูกใจตัวเอง พ่อแม่ก็จะบ่นว่า หนูดื้อจัง จริงไหมคะ

วิธีจัดการก็คือ ให้แต่เป้าหมาย ผลลัพธ์ที่ต้องการ และกำหนดเวลาแล้วเสร็จ อธิบายเฉพาะขั้นตอนสำคัญที่อาจเกี่ยวกับความปลอดภัย หรือมีความสำคัญ นอกนั้น เปิดพื้นที่อิสระให้ลูกปรับเปลี่ยน เพิ่มเติม หรือลด ขั้นตอน ตามต้องการ หรือพูดง่าย ๆ ทำยังไงก็ได้ลูก ขอให้จานสะอาดเอี่ยม ไม่มีคราบน้ำมัน เสร็จก่อน ห้าโมงเย็นนะคะ ส่วนลูกจะเริ่มทำตอนไหน อย่างไร ก็ปล่อยให้มีอิสระที่จะจัดการเองค่ะ มองที่ผลลัพธ์พอ อย่างนี้เด็กที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง จะรู้สึกดี เพราะได้อิสระทำเองไม่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุม พ่อแม่ก็สบายไปนั่งกินกาแฟสบายใจได้ เท่านี้ลูก ก็จะดูไม่ ดื้อ แล้วค่ะ

  • แบบที่สาม ดื้อเพราะมีความคิดที่ยึดมั่นถือมั่นสูง

แบบนี้ คุยด้วยเหตุผลได้ค่ะ เพราะเด็กที่มีศักยภาพความคิดแข็งแรง จะค่อนข้างมี self confidence สูง ชอบที่จะคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง ทำความเข้าใจด้วยตนเอง ว่าทำไมต้องทำตามขั้นตอนอย่างนี้เพราะอะไร ถ้าไม่ทำจะเป็นอย่างไร เป็นต้น และถ้ายิ่งได้พิสูจน์ด้วยตนเองจากการลองปฏิบัติดูแล้ว ได้ผลลัพธ์อย่างที่คิดจริง ๆ ก็จะยิ่งมั่นใจมากว่าสิ่งนั้นถูกต้องแล้ว ดังนั้นถ้าพ่อแม่มาพูดหรือสอนให้ทำในรูปแบบอื่นที่ไม่ตรงกันก็จะไม่เชื่อถือ ทำให้พ่อแม่คิดว่าเป็นเด็กดื้อได้

วิธีจัดการกับเด็กที่มีลักษณะแบบนี้ เราต้องใจเย็น และตั้งสติเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของลูกก่อนค่ะ เพราะสิ่งที่ลูกคิดอาจจะถูกก็ได้ แต่ถ้าเรามองจากมุมของความเป็นผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์สูงกว่าลูก เราอาจจะพบว่าความคิดบางส่วนของลูกยังไม่ถูกต้องนัก ถ้าอยากปรับทัศนคติหรือมุมมองตรงนี้ให้ถูกต้อง เราจะต้องไม่ใช้ตัวเองเป็นบรรทัดฐานนะคะ เช่น เชื่อแม่สิ แม่อาบน้ำร้อนมาก่อน แม่รู้ดี ถ้าพูดอย่างนี้ เด็กจะรับไม่ได้เพราะไม่มีหลักการเลย

วิธีที่ถูกต้องเราต้องนำหลักฐานที่เป็นที่ยอมรับมาอ้างอิง เช่นข่าวสารทางวิชาการที่มีผู้ทดลองปฏิบัติแล้วได้ผลตามนี้ แหล่งข้อมูลที่นำมากล่าวอ้างก็จะต้องเชื่อถือได้จริง ๆ ในค่านิยมของคนยุคนั้น ๆ ด้วยค่ะ หรือถ้าเราสามารถชวนลูกมาทดลองเพื่อพิสูจน์หาความจริงด้วยกันก็ได้ค่ะว่าวิธีการของลูกหรือความคิดของลูกถูกต้องจริง ๆ เด็กลักษณะคิดวิเคราะห์นี้ ส่วนใหญ่จะยอมรับได้ค่ะ ถ้าพิสูจน์ด้วยกันแล้วไม่เป็นไปตามที่เขาคิด แต่ทั้งนี้อยู่ที่การเปิดใจรับฟังของพ่อแม่ก่อนนะคะ ไม่ใช่นั่งทะเลาะเอาเป็นเอาตายกับลูกจนเหนื่อยด้วยกันทั้งสองฝ่าย สุดท้ายก็ไม่มีใครฟังใครเลย


จากที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่าเพียงเราเข้าใจสาเหตุของความดื้อของลูก และรู้วิธีจัดการอย่างถูกทาง เราก็ไม่ต้องบ่นอีกต่อไปนะคะ ว่า ลูกดื้อจัง ซึ่ง P-PAC ของเรามีเครื่องมือที่จะทำให้รู้ว่าลูกของคุณพ่อคุณแม่ดื้อมั้ย และดื้อแบบไหน ถ้าสนใจก็ติดต่อมาวิเคราะห์ลายผิวได้นะคะ


โดย คุณอุ อุมาพร บรรจงศร – นักวิเคราะห์ศักยภาพ P-PAC

บทความอื่นๆ Click link

Leave a comment