วันนี้จะคุยเรื่อง “เข้าใจตนเข้าใจคน” กันค่ะ
ทุกคนคงจะบอกว่าไม่เห็นต้องเข้าใจตนเองเลยเพราะฉันอยู่กับตัวฉันเองมาทั้งชีวิตแล้วจริงมั้ยคะ แต่ในความเป็นจริงแล้วอายุเป็นเพียงตัวเลข กาลเวลาก็เป็นเพียงแค่กาลเวลา มันไม่ได้บอกเลยว่าเรารู้จักตัวเราอย่างถูกต้องหรือไม่อย่างไร เพราะหลายคนหรือง่าย ๆ เกือบทุกคนในโลกนี้ล้วนแต่เข้าข้างตนเอง มันอยู่ที่ว่าเราอยากจะเข้าข้างแบบไหน เช่น ถ้าสังคมภายนอกเขายอมรับการเป็นคนดีมีศีลธรรม มีจิตใจที่ดี เข้าวัดฟังธรรม ทำบุญตักบาตร เราก็จะเข้าข้างตัวเราเองว่าเราเป็นคนแบบนั้นค่ะ เพื่อให้สังคมยอมรับ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไปถามคนใกล้ตัวเขาอาจจะบอกว่าไม่จริงก็ได้
การเข้าใจตนนี้จึงอยากให้ทำความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงค่ะ ถามตัวเองว่าในแต่ละวันเราได้ทำอะไรบ้าง เราคิดอะไรบ้าง อะไรที่ทำให้เรามีความสุขและอะไรที่ทำให้เราหงุดหงิด และเรามีวิธีในการรักษาอารมณ์ตัวเองได้อย่างไร และอีกหลายอย่างที่เราคิดและทำในแต่ละวัน ซึ่งถ้าเราสามารถดึงตัวเองออกมาแล้วมองตัวเรา เสมือนเป็นอีกคนหนึ่งได้จะดีมาก นั่นคือการทำความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริงและอย่างเป็นกลางไม่เข้าข้างตัวเองค่ะ ภาษาอังกฤษเรียกว่า introspection วิธีการคือ ให้ทบทวนพฤติกรรมของตนเองและการใช้ชีวิตในแต่ละวัน ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ยิ่งเวลาก่อนนอนจะเป็นเวลาที่ดีที่สุดค่ะ โดยดึงตัวเองออกมาเป็นอีกคนหนึ่งมองเข้าไป แล้วพิจารณาว่าวันนี้ฉันทำอะไรที่เป็นความดีบ้าง วันนี้ฉันทำอะไรที่ทำให้คนรอบข้างมีความสุขบ้าง หรือวันนี้ฉันมีเรื่องหงุดหงิดรำคาญใจกับใครบ้าง หรืออาจจะมีการทะเลาะเบาะแว้งกับใครหรือเปล่า แล้วฉันจะป้องกันตัวเองไม่ให้เป็นเช่นนี้ได้อย่างไรในวันต่อ ๆ ไป หรือฉันจะทำให้ดีขึ้นกว่านี้ได้อย่างไร ถ้ามันทำให้ฉันมีความสุขและคนรอบตัวก็มีความสุขด้วย
การทำความเข้าใจตนเองถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมากในการพัฒนาตัวเองนะคะโดยจะต้องมีความเป็นกลางเสมอ ถ้าเราทำเช่นนี้ได้บ่อยบ่อยทุกวันทุกคืนโดยเฉพาะก่อนนอนเราจะเป็นคนที่พัฒนาตนเองเข้าใจตนเอง และเข้าใจคนรอบข้างได้อย่างแท้จริงค่ะ และที่สำคัญต้องเน้นความเป็นกลางไม่เข้าข้างตัวเองนะคะถึงจะประสบผลสำเร็จค่ะ อีกอย่างคือจะต้องไม่ พยายามตัดสินว่า ใครผิดใครถูก หรือฉันถูก คนรอบข้างผิดอะไรทำนองนี้นะคะ ถึงจะเรียกว่าเป็นกลางอย่างแท้จริงค่ะ
การพัฒนาและปรับปรุงตนไม่ใช่เรื่องง่ายนะคะถ้าเราไม่เปิดใจ
หรือปิดกั้นตนเองมองว่าเราดีอยู่แล้วก็จะไม่เกิดประโยชน์เลยค่ะ บางคนจึงใช้วิธีหาสมดุลมาเขียนก่อนนอน อะไรที่ฉันทำได้ดีสามอย่างและอะไรที่ฉันทำไม่ดีสามอย่าง เป็นต้น รวมทั้งเขียนวิธีการที่ฉันจะแก้ไขและปรับปรุงให้ดีขึ้น สิ่งที่ดีอยู่แล้วจะดีขึ้นอย่างไร และวิธีการแก้ไขสิ่งที่ฉันทำไม่ดีในวันนี้ให้ดีขึ้นต่อไป จะทำได้อย่างไรบ้าง ถ้าเรามีการบันทึกวิเคราะห์และประเมินบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริงที่เกิดขึ้นทุก ๆ คืนก่อนนอนอย่างนี้เราก็จะมีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นได้ค่ะ
การพัฒนา และวิเคราะห์ตนเองเช่นนี้ก็จะทำให้เราดีขึ้นค่ะ
ในการทำครั้งแรกอาจจะพบว่ามีส่วนที่ไม่ดี ไม่ถูกใจ ไม่สบายใจมาก ก็อย่าพึ่งถอดใจนะคะ ค่อยค่อยทำและแก้ไขไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งแทบไม่มีเลย แอบให้รางวัลตัวเองบ้าง ก็ได้นะคะ เช่น ซื้อของอร่อยอร่อย ที่เราชอบมากินบ้างก็ได้แม้จะแพง หรือซื้อเสื้อผ้าสวยสวยที่อยากได้มานานแล้ว หรือไป shopping กับเพื่อน ๆ จะได้เกิดกำลังใจในการที่จะพัฒนาตนเองต่อไปได้ค่ะ แต่ถ้าเราพบว่าเรามีข้อผิดพลาดเยอะแก้ไขเท่าไหร่ก็ไม่หมดไม่สิ้น ก็อย่าพึ่งถอดใจนะคะ ค่อยค่อยทำไปค่ะไม่ต้องกดดันตนเองในที่สุดเราก็จะสามารถมีชัยชนะ ชนะตนและเข้าใจวิธีการที่จะชนะจิตใจผู้อื่นด้วยค่ะ ที่สำคัญเราไม่ต้องลงโทษตัวเองนะคะ การลงโทษตัวเองจะทำให้เราติดลบ ต้องให้กำลังใจตัวเอง วันนี้ยังไม่ดีมาก พรุ่งนี้เราก็ลองทำใหม่ค่อย ๆ ปรับค่อย ๆ แก้ไขไปอย่างนี้เรื่อย ๆ ค่ะ จนค้นพบวิธีที่ใช่สำหรับเรา
มาถึงตรงนี้หลายคนคงจะสงสัยแล้วใช่ไหมคะว่า คำว่า introspection นั้นมันคือส่วนไหนของ report หรือรายงานผลวิเคราะห์ สามารถดูได้ในตารางศักยภาพได้ค่ะ
ถ้าคนไหนพบว่ามีส่วนของ introspection เป็นเบอร์หนึ่งถือว่าสุดยอดมากค่ะ ถ้ารู้จักพัฒนาตนตามขั้นตอนการพัฒนาที่บอกข้างต้น ในส่วนนี้เราจะไปได้เร็วกว่าคนอื่นค่ะเพราะเป็นเบอร์หนึ่งของเราแต่ทั้งนี้จะต้องเปิดใจในการพัฒนานะคะ เพราะถ้าไม่เปิดใจผลลัพธ์จะเป็นตรงกันข้ามคือไม่ใส่ใจ มองตัวเองว่าฉันแน่ ตัวเองเก่งและเข้าข้างตัวเองตลอดเวลากลายเป็นไม่เข้าใจตนเองและไม่พยายามเข้าใจคนอื่นด้วยค่ะ
ทั้งนี้ถ้าอยากเข้าใจตนเองมากขึ้นและเข้าใจผู้อื่นมากขึ้นหรืออยากจะพัฒนาตนเองในส่วนของ introspection ให้เข้าใจตนเข้าใจคนได้ อย่าง 100% แนะนำให้ปรึกษานัก วิเคราะห์ ที่ทำการวิเคราะห์ผลนะคะ หรือจะนัดฟังผลใหม่ก็ได้ค่ะ
โดย คุณอุ อุมาพร บรรจงศร – นักวิเคราะห์ศักยภาพ P-PAC
บทความอื่นๆ Click link