Cpall, PPAC, ค้นหาตัวตน, ค้นหาศักยภาพ, วิเคราะห์ศักยภาพ, สแกนลายนิ้วมือ, สแกนลายผิว

5ภาษารักและรูปแบบการเลี้ยงดูลูก #ตอนที่2

Cpall, PPAC, ค้นหาตัวตน, ค้นหาศักยภาพ, วิเคราะห์ศักยภาพ, สแกนลายนิ้วมือ, สแกนลายผิว
Cpall, PPAC, ค้นหาตัวตน, ค้นหาศักยภาพ, วิเคราะห์ศักยภาพ, สแกนลายนิ้วมือ, สแกนลายผิว

(The Five Love Languages)

แล้วภาษารักของลูกคืออะไร? คุณพ่อคุณแม่จะแสดงความรักต่อลูกอย่างไร?


เมื่ออาทิตย์ที่แล้วเราพูดถึง The Five Love Languages 5 ภาษารัก ซึ่งเป็นทฤษฎีของ Dr. Gary Chapman ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความรักความสัมพันธ์ ชีวิตครอบครัวและการพัฒนาเด็ก ท่านเชื่อว่าคนเรามีวิธีในการแสดงออกถึงความรัก ความห่วงใยที่แตกต่างกัน และแต่ละคนก็มีวิธีส่งมอบความรัก และชอบวิธีที่ให้อีกฝ่ายแสดงความรักไม่เหมือนกัน ดังนั้นเมื่อเราและคนที่เรารักชอบรูปแบบการส่งภาษารักที่แตกต่างกันก็อาจทำให้เกิดความไม่เข้าใจและเกิดปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกันได้ ซึ่งแน่นอนว่าภาษารักระหว่างคุณพ่อคุณแม่และลูกก็มีโอกาสที่จะส่งและรับแตกต่างกันได้ค่ะ


Dr. Chapman กำหนดแนวคิดภาษารัก (love languages) ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 รูปแบบ ดังนี้

1. Words of Affirmation (สื่อภาษารักผ่านคำพูด)

2. Quality Time (สื่อภาษารักผ่านการใช้เวลาอยู่ร่วมกัน)

3. Physical Touch (สื่อภาษารักผ่านการสัมผัส)

4. Acts of Service (สื่อภาษารักผ่านการทำอะไรดี ๆ ให้)

5. Receiving Gifts (สื่อภาษารักผ่านการมอบของขวัญ

2. Quality Time (สื่อภาษารักผ่านการใช้เวลาคุณภาพร่วมกัน)


คือการมีเวลาคุณภาพร่วมกัน ไม่จำเป็นต้องใช้ระยะเวลายาว ๆ แต่หากเป็นการใช้เวลาสั้น ๆ แต่เต็มไปด้วยคุณภาพที่สมาชิกในครอบครัวทำกิจกรรมร่วมกัน มีความตั้งใจ มีความสนใจกันก็เพียงพอแล้ว เวลาที่คุณพ่อคุณแม่ใช้กับลูกไม่เคยเสียเวลาหากเป็นเวลาคุณภาพที่ใช้ร่วมกันนะคะ เพราะคุณพ่อคุณแม่ได้ปลูกฝังความรักในแต่ละช่วงเวลาด้วยกัน ในฐานะพ่อแม่ เราต้องใช้เวลากับลูก ๆ อย่างตั้งใจและสนใจกัน โดยเฉพาะถ้าลูกชอบภาษารักผ่านการใช้เวลาอยู่ร่วมกัน เวลาคุณภาพกับลูกจะไม่ถูกวัดเป็นนาทีหรือชั่วโมง แต่มันคือสายสัมพันธ์ที่คุณพ่อคุณแม่สร้างและเสริมความแข็งแรงให้กับลูกอยู่ตลอดเวลาค่ะ

หากลูกชอบภาษารักผ่านการใช้เวลาคุณภาพ นี่คือกลยุทธ์ในการแสดงความรักของคุณพ่อคุณแม่ค่ะ

จัดตารางเวลา

คุณพ่อคุณแม่อาจจะกำหนดเวลาในแต่ละวันเพื่ออยู่หรือทำกิจกรรมร่วมกับลูก

พูดคุยกัน

หากคุณพ่อคุณแม่ไม่อยู่เป็นเวลานาน ให้ใช้เวลาในการโทรคุยกันหรือวิดีโอคอลหากัน คุณแม่บางท่านอาจจะมีวิดีโอคอลอ่านนิทานกับลูกก็เป็นได้

เพิ่มเวลาขึ้น

เซอร์ไพรส์ลูกด้วยการเพิ่มเวลาที่อยู่ด้วยกัน

ใช้เวลาในเชิงบวก

ให้ความสำคัญกับลูกมากที่สุดเมื่อใช้เวลากับพวกเขา หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์สื่อสารที่อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมกับลูก

ยืดหยุ่นกับตารางเวลา

บางครั้งกิจกรรมที่ทำร่วมกันก็ไม่ได้จำเป็นต้องกำหนดทุกครั้ง ให้ลูก ๆ รู้สึกตื่นเต้นที่อาจจะมีกิจกรรมที่ทำร่วมกันแทรกเข้ามาบ้าง เพียงแต่ตรวจสอบเวลาของลูก ๆ เป็นครั้งคราวและเรียนรู้ว่าพวกเขากำลังทำอะไรอยู่

มีวันพิเศษเฉพาะสำหรับลูก

คุณพ่อคุณแม่สามารถทำอาหารด้วยกัน เล่นด้วยกัน วาดหรือระบายสีด้วยกัน

ถ้าต้องพลาดเวลาร่วมกัน

ให้ความมั่นใจกับลูกว่าคุณพ่อคุณแม่จะกลับมาทำกิจกรรมร่วมกับพวกเขาอย่างแน่นอน

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงคือ

1.อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไปโดยไม่ได้ทำกิจกรรมกับลูก หรือหากทำกิจกรรมร่วมกัน แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ให้ความสนใจ เช่น นั่งเล่นโทรศัพท์ นั่งดูทีวี กิจกรรมที่ทำร่วมกันก็ไม่ใช่เวลาคุณภาพเช่นกัน
2.ปล่อยให้ลูกอยู่คนเดียวเป็นเวลานาน
3.การไปที่ไม่ได้บอกลูกว่าคุณพ่อคุณแม่จะไปไหน และจะกลับมาเมื่อไหร่ หรือการไปข้างนอกโดยที่ลูกไม่รู้ว่าคุณพ่อคุณแม่ไปแล้ว
เพราะเวลาเป็นเพียงสิ่งเดียวที่ทุกคนมีเท่ากันคือ 24 ชั่วโมง ด้วยเหตุนี้ เราจึงใช้เวลาทุกเวลาที่มีในเรื่องที่สำคัญต่อเรา หากลูกมีความสำคัญสำหรับคุณพ่อคุณแม่และนี่ก็เป็นภาษารักที่ลูกชอบใช้เวลาคุณภาพร่วมกับเราแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องใช้เวลาคุณภาพร่วมกันกับลูกให้มากที่สุดค่ะ

บทความอื่นๆ Click link

Leave a comment