#สังเกตคำถามที่เรามักใช้สะท้อนตัวตนที่เราเป็น
testtttttttttdjsfikpdkhpirt9hid
doguofdhubohu’
testtttttttttdjsfikpdkhpirt9hid
doguofdhubohu’
testtttttttttdjsfikpdkhpirt9hid
doguofdhubohu’
testtttttttttdjsfikpdkhpirt9hid
doguofdhubohu’
testtttttttttdjsfikpdkhpirt9hid
doguofdhubohu’
testtttttttttdjsfikpdkhpirt9hid
doguofdhubohu’
?วิถีนกแก้ว: วิถีที่พร้อมจะปรับเปลี่ยน ในสภาพของการเปลี่ยนแปลงเช่นขณะนี้ คนที่ปรับตัวได้เร็วและสามารถ อยู่รอดในสถานการณ์ได้ นกแก้วจะเป็นผู้มีศักยภาพอย่างยิ่ง ?พฤติกรรมนกแก้วที่เห็นได้ชัดในสังคมก็คือ การที่มีสินค้า บริการ หรืออะไรก็ตามที่มีกระแสนิยมในขณะนั้น จู่ ๆ ก็มีมือดีมาสร้างสินค้าที่ดัดแปลงต่อยอดให้แตกต่างไปจากเดิม แถมมีลูกเล่นแปลกใหม่ให้ยืดหยุ่นแก้ข้อจำกัดของสิ่งที่ออกมาก่อนหน้า พอจะเรียกว่าสร้างสรรค์ได้ พูดได้ว่านกแก้วเป็นเจ้าแห่งการคิดลงรายละเอียดแบบประยุกต์ใช้รอบด้าน (มากกว่าลงลึกแบบห่านป่า) มีความยืดหยุ่นสูง โดยใช้ทรัพยากรรอบตัว และนำข้อมูลที่ไม่ต้องครบทุกด้านมาสนับสนุนให้เป็นประโยชน์ ทั้งยังมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี พอจะเป็นผู้ประสานงาน หรือใช้การสื่อสารแบบประนีประนอมในสถานการณ์ที่เสียเปรียบให้พลิกผันได้ ?หากในองค์กรมีระบบการฝึกอบรมพัฒนาให้ลงลึกในความรู้ และทักษะนั้นแล้ว ก็จะเป็นการติดอาวุธให้กับพนักงานประเภทนี้ ซึ่งโครงการเฉพาะกิจที่ไม่ทันเตรียมตัว (Ad hoc Project) นกแก้วจะรับมือได้ดี เพราะสามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ทันท่วงที เพื่อเป็นการต่อเวลาสำหรับการพัฒนาระบบให้ดีขึ้นในภายหลังซึ่ง น่าแปลกที่สถานการณ์ที่กดดันนี้กลับจะทำให้หมู่นกแก้วดึงความสามารถประเภทนี้ออกมาได้ดีเป็นพิเศษ เรียกว่าปรับตัวได้เมื่อจำเป็น นอกจากนั้นการที่นกแก้วเป็นผู้รอบรู้แล้วยังทำให้เป็นพนักงานที่ทำงานได้คล่องแคล่วเรียนรู้เร็ว หากเป็นผู้บริหารก็สามารถรับมือกับงานได้หลากหลาย เรียกได้ว่า เป็นได้ทุกบทบาทที่ต้องไปเติมเต็มทีมงานได้ในยามที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นผู้นำ ผู้โน้มน้าวต่อรอง ผู้ประสานงาน หรือเป็นผู้ปฏิบัติ ทำให้นกแก้วมักจะมีบทบาทด้านการให้คำปรึกษาได้ดีเมื่อมีความรู้ความเชี่ยวชาญมากพอ จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความชัดเจนในวิชาชีพให้ตนเองแต่แรก ✔️อย่างไรก็ดีภายใต้ศักยภาพการอยู่รอดได้ดีของนกแก้วก็ตามมาด้วยจุดที่ต้องระวัง คือ การตัดสินใจแบบแบ่งรับแบ่งสู้ซึ่งทำให้เกิดความคลุมเครือ พร้อมจะปรับเปลี่ยนตามความกดดันของสถานการณ์ หรือผู้คนส่วนใหญ่ หรือเปลี่ยนแปลงบ่อยทำให้ทีมงานต้องปรับเปลี่ยนการทำงานตามตลอดเวลาอย่างเลี่ยงไม่ได้ กลายเป็นนกแก้วมักจะตัดสินใจ และลงมือทำเมื่อหลังชนฝาแล้ว เรียกว่าทำงานได้ไม่สุด เพียงแค่พอผ่าน ทำให้เสียโอกาสที่จะทำงานให้ได้เต็มที่ […]
บทความนี้เขียนสำหรับคุณพ่อคุณแม่นกทั้งหลายนะคะที่ต้องพาลูกนกไปโรงเรียนค่ะ ถ้าพูดถึงการพาลูกนกไปโรงเรียนในบทความนี้ขอให้คำจำกัดความถึงการไปโรงเรียนครั้งแรกหรือออกสู่สังคมใหม่ครั้งแรกของเหล่าลูกนกทั้งหลายนะคะ ผู้ปกครองหลายท่านอาจจะผ่านเหตุการณ์วันแรกของการไปโรงเรียนของลูก ๆ มาแล้วใช่ไหมคะ แต่บางท่านอาจจะกำลังลุ้นอยู่ว่าจะเอายังไงดีที่จะพาลูกนกไปโรงเรียนได้โดยสวัสดิภาพและปล่อยให้ลูกอยู่กับคุณครูที่โรงเรียนได้โดยไม่ร้องไห้ทั้งวันเหมือนที่เคยได้ยินเพื่อน ๆ พูดกันมา ง่ายมากค่ะ ถ้าคุณพ่อคุณแม่เคยพาลูกมาสแกนลายผิวและวิเคราะห์ผลแล้ว ให้ดูนะคะว่าน้องเป็นลูกนกสายพันธุ์ไหนค่ะ ถ้าเป็นลูกนกกระจอกเทศก็จะต้องให้เวลาปรับตัวหน่อยค่ะในการปรับตัวหมายความว่าเราต้องคุยกับคุณครูไว้ก่อนเลยว่าขออนุญาตอยู่กับน้องสักครึ่งวันในทุก ๆ วันของช่วงแรกนะคะ เพื่อให้ลูกได้มีเวลาเตรียมตัวเตรียมใจ ทั้งนี้เพราะว่าลูกนกกระจอกเทศจะคุ้นชินกับสังคมที่คุ้นเคยเท่านั้นค่ะถึงจะแสดงออกได้เต็มที่ ซึ่งถ้าไปโรงเรียนวันแรกเป็นสังคมใหม่น้องอาจจะร้องไห้ อาจจะเกาะอยู่กับชายกระโปรงคุณแม่หรือไปหลบอยู่ข้างหลังไม่ยอมแยกตัวออกจากคุณแม่เลยค่ะ เนื่องจากในสายตาของน้อง คุณครูที่โรงเรียนและเพื่อน ๆ ล้วนแต่เป็นคนแปลกหน้าทั้งนั้น เป็นสังคมที่ไม่คุ้นเคยของน้องค่ะ และถ้าเป็นไปได้เมื่อน้องปรับตัวเข้ากับสังคมที่โรงเรียนนี้แล้วก็พยายามอย่าเปลี่ยนโรงเรียนให้น้องบ่อย ๆ นะคะอาจจะอยู่กันยาว ๆ เลย เช่น ประถมไปมัธยม จากมัธยมก็เรียนยาวไปจนถึงสอบเข้ามหาลัยเลยนะคะ หรือให้เปลี่ยนเฉพาะที่จำเป็น เพราะนกกระจอกเทศจะใช้เวลาในการปรับตัวกับสังคมใหม่นานกว่านกชนิดอื่นค่ะ จะทำให้เสียเวลาในการพัฒนาศักยภาพของน้องถ้าเราเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของน้องบ่อย ๆ แต่ถ้าลูกของคุณแม่เป็นลูกนกเหยี่ยว นิยามของเหยี่ยวคือทำตามเป้าหมายที่ตัวเองอยากทำเท่านั้น ถ้าเราไปบังคับฝืนใจให้เหยี่ยวไปโรงเรียนโดยที่ไม่มีการคุยกันก่อนว่าจะไปโรงเรียนเพื่ออะไร จะไปทำอะไรและเขาจะได้อะไรจากการไปโรงเรียน ซึ่งสิ่งที่เขาจะได้อะไรนั้นจะต้องเป็นสิ่งที่เขาต้องการตามวิสัยของเหยี่ยวด้วยค่ะ ลูกนกเหยี่ยวตัวนั้นจึงจะยินยอมให้ความร่วมมือในการไปโรงเรียน หรือพูดง่าย ๆ ก็คือห้ามบังคับใจลูกนกเหยี่ยวค่ะต้องคุยกันก่อนเสมอ และถ้าเรารู้ว่าลูกนกเหยี่ยวมีความต้องการอะไรอยู่อันเป็นเป้าหมายของเขาอย่างชัดเจน เช่น อยากได้ของเล่นราคาแพงเราก็ต้องเก็บเอาไว้เป็นตัวล่อให้เขาไปโรงเรียน แล้วเมื่อถึงวันหยุดถึงค่อยไปซื้อของเล่นนั้นค่ะ เรื่องนี้สำคัญมากนะคะเราไม่ได้ตามใจลูกค่ะ แต่ในเมื่อเราต้องซื้อของเล่นให้ลูกอยู่แล้วเราก็ไม่ควรรีบด่วนซื้อค่ะเพราะว่าเราจะไม่ได้อะไรจากการซื้อของเล่นให้ลูกแถมเป็นการสปอยล์ด้วย จึงแนะนำว่าให้ใช้เป็นตัวแลกเปลี่ยนกับการที่เขาจะต้องประพฤติตนดี เป็นเด็กเรียบร้อยและไปโรงเรียนก่อน แต่ถ้าน้องอยากไปโรงเรียนอยู่แล้วมันเป็นเป้าประสงค์เขา เราก็สบายไม่ต้องคุยเพื่อแลกเปลี่ยนด้วยของเล่นอะไรอีกแล้วค่ะ ซึ่งส่วนใหญ่เหยี่ยวเด็ก […]
วิถีนกยูง ตอน เคล็ด (ไม่ลับ) สำหรับจัดการกับน้องนกยูง พวกเราคงเคยพาลูกมาวิเคราะห์ลายผิวกันแล้วใช่มั้ยคะ ลองถามตัวเองสิว่าลูกเราเป็นน้องนกยูงแบบไหนกันแน่ ไหนบอกว่านกยูงชอบแสดงออกไง แต่เวลาอยู่กับเพื่อน ๆ ดูเหมือนจะขี้อายด้วยซ้ำ เกิดอะไรขึ้นคะ บางคนร้อนใจมาก เพราะเผอิญคุณแม่ก็เป็นแม่นกยูงเหมือนกัน ทำไมลูกถึงไม่เหมือนแม่เลย เฮ้อ !! กลุ้มใจจัง ค่ะ ?เป็นนกยูงเหมือนกันก็ใช่ว่าวิธีการแสดงออกจะเหมือนกันนะคะ แถมยังมีนกยูงหลายสายพันธุ์อีก คุณแม่อาจเป็นนกยูงร้อยเปอร์เซนต์ พร้อมโชว์ในทุกที่ทุกสถาน แต่ลูกอาจจะเป็นนกยูงผสมนกกระจอกเทศก็ได้ ทำให้ไม่สบายใจถ้าต้องแสดงออกท่ามกลางคนแปลกหน้า เพราะธรรมชาติของนกกระจอกเทศจะแสดงออกได้ดีกับสังคมที่คุ้นเคยกันมากกว่า ถ้าเป็นนกยูงผสมนกแก้วก็เช่นกัน ความเป็นนกแก้วก็จะทำให้นกยูงตัวนี้ไม่แสดงอะไรที่เกินเหตุค่ะ ด้วยธรรมชาติของนกแก้วจะสังเกตคนรอบข้างก่อนว่าเขาทำอะไรกัน นกแก้วก็จะไม่ทำอะไรที่แตกต่างไปจากกลุ่ม นอกจากนี้ยังมีลักษณะเสริมอื่น ๆ อีกที่ทำให้น้องนกยูงมีความแตกต่าง เช่น มีลักษณะของ Lively ก็จะไม่ชอบอดทนรอคอยอะไรนาน ๆ ก็จะหงุดหงิดง่าย เป็นต้น ?แต่วันนี้เราจะมาเจาะประเด็น เคล็ด (ไม่ลับ) สำหรับจัดการกับน้องนกยูงค่ะ แม้นกยูงจะมีหลายสายพันธุ์ แต่สิ่งหนึ่งที่น้องนกยูงมีเหมือนกันคือ ต้องการการยอมรับจากคนที่อยู่ด้วยสูงมาก ทั้งจากพ่อแม่ พี่น้อง เพื่อน คุณครู และผู้คนในสังคม และสิ่งที่น้องนกยูงไม่ชอบมาก ๆ คือ […]
คุณพ่อคุณแม่ ทราบมั้ยคะว่า “ลูกมีทักษะการคิดด้านใดที่โดดเด่น ?” ทักษะการคิด (Thinking Skill) เป็นการทำงานของระบบสมองในการการประมวลผลข้อมูลที่ได้รับมา ในการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจ แก้ปัญหา และตัดสินใจ รวมถึงการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในเชิงสร้างสรรค์ และทักษะการคิดยังสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต การตัดสินใจ การแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ทักษะการคิดของลูกจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่จะช่วยลูกพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ หากคุณพ่อคุณแม่เข้าใจและรู้ถึงความถนัดในทักษะการคิดของลูก และส่งเสริมความคิดในด้านที่ลูกมีความถนัด หรือใช้วิธีการสอนที่เหมาะสมกับรูปแบบการคิด ลูกก็จะสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ได้เร็วและมีความเข้าใจ ลูกจะมีความสุขและสนุกกับการเรียนรู้ทำให้ลดปัญหาในการเรียนรู้สำหรับลูก หากไปใช้ทักษะการคิดที่ลูกไม่ถนัดและใช้วิธีการสอนที่ไม่สอดคล้อง หรือไม่ช่วยให้ลูกได้ใช้ทักษะการคิดที่เหมาะสม ลูกอาจจะปฏิเสธเพราะรู้สึกกดดัน ไม่สนุก เนื่องจากใช้เวลานานในการเรียนรู้และก็ยังไม่เข้าใจอีกด้วย การเรียนรู้นั้นก็จะเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ หรือลูกอาจจะปฏิเสธการเรียนรู้นั้นไปเลยก็ได้ ทักษะการคิดที่นำมาแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ในบทความนี้ เป็นทักษะการคิดพื้นฐานในการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้นำไปใช้ในการช่วยพัฒนาส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับลูก ๆ มี 3 รูปแบบ ดังต่อไปนี้ค่ะ การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) คือ กระบวนการคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลที่มีรายละเอียด สามารถจัดการข้อมูลที่มีความหลากหลาย มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน นำมาจัดหมวดหมู่ หรือแยกแยะข้อมูลส่วนต่าง ๆ ที่ได้รับมา จัดแบ่งระบบข้อมูลขนาดใหญ่ออกเป็นส่วน ๆ และสามารถวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของข้อมูล หรือทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของส่วนประกอบต่าง […]
เทคนิคการเลี้ยงดูลูกนกที่มีบุคลิกภาพซับซ้อน หลายครั้งที่มีคำถามจากคุณพ่อคุณแม่ในการเลี้ยงดูลูก แล้วเกิดปัญหาว่าไม่เข้าใจในพฤติกรรมของลูก ๆ ถึงแม้พยายามใช้การสื่อสารกับลูก ๆ แบบเปิดตำราอ่านกันเลยว่าเด็กต้องใช้วิธีการเลี้ยงดูและสื่อสารแบบไหนดีที่เหมาะสม แต่ก็ยังไม่ได้รับคำตอบหรือผลลัพธ์ที่คาดหวัง การวิเคราะห์บุคลิกภาพของ P-PAC เป็นเครื่องมือที่ช่วยอธิบายและบอกลักษณะบุคลิกภาพของลูกที่มีความผสมผสาน และมีความซับซ้อนทั้งทางด้านพฤติกรรมและการสื่อสาร รวมถึงคุณพ่อคุณแม่จะมีวิธีการรับมือในการเลี้ยงดูลูก ๆ ให้มีความสุข พร้อมกับการพัฒนาศักยภาพ ด้วยความเข้าใจในความเป็นตัวตนของลูกที่แท้จริง สำหรับกรณีศึกษาที่นักวิเคราะห์นำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ เป็นผลการวิเคราะห์ของเด็กค่ะ จากรายงานผลการวิเคราะห์ พบว่า ในบุคลิกภาพโดยรวมนั้น มีส่วนผสมของบุคลิกภาพนกอยู่ด้วยกัน 3 นก ประกอบด้วย บุคลิกภาพนกหลัก คือ นกเหยี่ยว และบุคลิกภาพนกรอง 2 นกด้วยกัน คือ นกยูง และนกกระจอกเทศค่ะ ลองมาติดตามกันดูนะคะว่า จะมีความเชื่อมโยงหรือความขัดแย้งที่น่าสนใจ และมีมุมใดที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมในการทำความเข้าใจลูกของเราเพื่อเป็นเทคนิคให้คุณพ่อคุณแม่ไปใช้ในการเลี้ยงดูลูกกันค่ะ นกเหยี่ยวลูกผสม มีลักษณะ พฤติกรรมและการสื่อสาร ดังนี้ค่ะ นกเหยี่ยว ที่เป็นเด็กจะมีความเป็นตัวของตัวเองสูง รักอิสระ ไม่ชอบอยู่ภายใต้การควบคุมและการถูกออกคำสั่ง เลือกทำในสิ่งที่ตนเองสนใจ และเป็นเป้าหมาย ชอบความท้าทาย ใจร้อน […]