Cpall, PPAC, ค้นหาตัวตน, ค้นหาศักยภาพ, วิเคราะห์ศักยภาพ, สแกนลายนิ้วมือ, สแกนลายผิว

รู้จักลูกผ่านแผนที่พรสวรรค์ (นิ้วชี้ซ้าย ขวา) ต่อ

หลังจากที่เราทราบแล้วว่าแผนที่นิ้วชี้ซ้ายและขวา สะท้อนพรสวรรค์และแนวโน้มพฤติกรรมอะไรบ้าง เรามาลองดูให้รู้ลึกกันลงไปอีกว่า หากส่วนผสมของทั้งสองส่วนมีความแตกต่างกันในหลายรูปแบบจะมีผลต่อแนวโน้มพฤติกรรมอย่างไร ผู้เกี่ยวข้องควรเข้าใจและให้การดูแลอย่างไรบ้าง (นิ้วชี้ซ้าย แผนที่ศักยภาพด้านการคิดเชิงจินตภาพ การคิดสร้างสรรค์ นิ้วชี้ขวา แผนที่ศักยภาพด้านการคิดเชิงตรรกะเหตุผล)


กรณีที่ 1

ศักยภาพทั้งสองแข็งแรงมาก สิ่งที่เราจะเห็นได้ชัดเจน คือ เด็กหรือคน ๆ นั้นจะมีความช่างสงสัย มีคำถามที่เจาะลงถึงรายละเอียด ความเชื่อมโยง ข้อขัดแย้ง ต้องการข้อพิสูจน์หรือการทดลองเพื่อยืนยันความคิดนั้นว่าถูกต้อง ดังนั้นแนวโน้มพฤติกรรมสำหรับคนกลุ่มนี้จึงไม่เชื่ออะไรง่าย ยิ่งหากอยู่ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ถูกหล่อหลอมด้วยความรู้แบบวิทยาศาสตร์ด้วยแล้ว หากพิสูจน์ไม่ได้ก็ยากที่จะเชื่อสนิทใจเช่นกัน


พฤติกรรมอีกอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ความเชื่อมั่น ความคาดหวัง และมั่นใจในความคิดตนเองสูง เมื่อกำลังสนใจข้อมูลใด ก็จะตั้งใจฟังและคิดตามด้วยการจดจ่ออย่างยิ่ง จึงมีสมาธิสูงไม่สนใจสิ่งรอบข้าง อาจไม่แสดงการโต้ตอบทันใดในขณะที่กำลังคิดประมวลผลทำความเข้าใจเรื่องนั้นอยู่ ทำให้ผู้คนรอบข้างมักเข้าใจผิดว่า คิดช้าหรือคิดตามไม่ทัน หรือกำลังเหม่อลอยฝันกลางวันอยู่ ซึ่งนักวิเคราะห์ก็ได้พบพฤติกรรมเช่นนี้กับลูกค้ากลุ่มนี้เสมอ จึงควรตอบสนองเชิงพฤติกรรมโดยให้ผู้ฟังซักถามให้เต็มที่ รวมถึงการให้ข้อมูลแบบละเอียด ค่อยเป็นค่อยไป คอยถามกลับเป็นระยะถึงความเข้าใจ

จากความโดดเด่นของสมองส่วนการคิดเชิงจินตภาพหรือการคิดสร้างสรรค์ และความคิดเชิงตรรกะเหตุผล ลักษณะงานที่โดดเด่นจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มทักษะ ดังนี้

  • งานวิชาการ หรืองานที่เน้นความรู้แนวคิดวิเคราะห์ เช่น นักคณิตศาสตร์ การเงิน กฎหมาย บัญชี งานวิเคราะห์ข่าว วิเคราะห์หุ้น วิเคราะห์การเมือง
  • งานวางแผนกลยุทธ์ เช่น กลยุทธ์การตลาด กลยุทธ์ธุรกิจ กลยุทธ์การเงิน นักรัฐศาสตร์
  • งานระบบ หรือความรู้ทางเทคนิค เช่น คอมพิวเตอร์ วิศวกร งานพัฒนาระบบ
  • งานแนวต่อยอด สร้างสรรค์ เช่น สถาปัตย์ โฆษณา ผู้ผลิตรายการ Creative นักออกแบบ

กรณีหนึ่ง เด็กอายุ 3 ขวบ พ่อแม่ยังไม่สามารถสอนความรู้ต่าง ๆ เชิงลึกได้มากนักตามวัยของเขา แต่ด้วยศักยภาพของเด็กที่มีสมองส่วนจินตภาพและตรรกะแข็งแรง ทำให้เด็กคนนี้สามารถจับหลักการข้อหนึ่งได้ด้วยตนเองจากการเรียนรู้ทั่วไปที่ไม่มีใครแนะนำ เรื่องนั้นก็คือ

เขาได้เรียนรู้ว่า สิ่งต่าง ๆ “ยิ่งมากยิ่งดี”

ซึ่งตรรกะข้อนี้ก็เป็นข้อเท็จจริงในชีวิตโดยส่วนใหญ่แต่ไม่ใช่ทุกเรื่อง เช่น เร่งระดับเสียงโทรทัศน์ยิ่งมากเสียงจะยิ่งดัง เป็นต้น ปรากฏว่าวันหนึ่งอากาศร้อน หนูน้อยคนนี้ก็นำรีโมทมาเปิดเครื่องปรับอากาศ โดยเร่งตัวเลขอุณหภูมิมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้อากาศเย็น จนตัวเลขไปถึง 28 องศา แต่อากาศยังคงไม่เย็น คุณพ่อจึงบอกหนูน้อยว่า ถ้าจะให้อากาศเย็นต้องลดให้ตัวเลขเหลือน้อย ๆ เช่น 20 องศา ผลที่ได้ตรงข้ามกับที่คุณพ่อคิด คือ หนูน้อยต่อต้านไม่ยอมทำและไม่ยอมให้คุณพ่อจับรีโมทเพื่อปรับตัวเลขลง ความที่คุณพ่อสังเกตพฤติกรรมน้องบ่อย ๆ จึงเข้าใจว่าน้องมีความสามารถในการคิดหาหลักการเหตุผลได้ด้วยตัวเอง จึงเชื่อในความคิดของตนเองสูง ทำให้การจะสอนหรือแนะนำสิ่งต่าง ๆ ต้องเพิ่มการอธิบาย การพิสูจน์มากขึ้นเพื่อให้ยอมรับเรื่องนั้น

คุณพ่อจึงได้พูดกับหนูน้อยว่าพ่อจะทำให้อากาศเย็นให้ดู ถ้าไม่เย็นพ่อสัญญาว่าจะไม่แย่งรีโมทและปล่อยให้หนูลองเอง หนูน้อยจึงยอมปล่อยรีโมท พอคุณพ่อได้รีโมทและลดอุณหภูมิลงเหลือ 20 องศา อากาศเย็นขึ้นทันที

พฤติกรรมที่คาดเดาได้ คือ หนูน้อยถามทันทีด้วยความตื่นเต้นสนใจใคร่รู้ว่า ทำไมตัวเลขน้อย ๆ แต่อากาศกลับเย็น ไม่เห็นเหมือนเรื่องการเร่งเสียงของโทรทัศน์เลย ซึ่งจังหวะนี้เป็นจังหวะที่ดีอย่างยิ่งในการสอนความรู้นั้นให้เกิดความน่าสนใจสำหรับเด็กน้อยคนนี้ ปูทางไปทำงานสายวิทยาศาสตร์ได้ดีครับ


กรณีที่ 2

ศักยภาพทั้งสองไม่โดดเด่น กลุ่มนี้ก็มีข้อดีด้านตรงข้าม คือ การรับข้อมูลเข้าจะทำได้ง่าย แต่จะเป็นระบบการจดจำเข้าไป ไม่ใช่สร้างหรือคิดจนเห็นภาพด้วยตนเอง แน่นอนข้อดี คือ เร็วกว่ามาก แต่ข้อเสียคือ อาจแยกไม่ออกว่าเรื่องนั้นน่าจะจริงหรือเท็จ และหากต้องเจอเงื่อนไขที่แตกต่างจากสิ่งที่เรียนรู้มา หรือต้องพลิกแพลงจากสิ่งที่เรียนมาก็ทำได้ไม่ถนัดนัก อย่างไรก็ดีการมีต้นแบบที่สามารถสรุปรวบยอดความรู้ให้จดจำได้ง่าย จะช่วยให้การเรียนรู้ยิ่งเป็นได้รวดเร็ว

แนวโน้มพฤติกรรมที่เกิดจากลักษณะดังกล่าว คือ ความไม่มั่นใจในตนเอง

การขาดแรงผลักดันทางด้านวิธีการ การเชื่อสิ่งต่างๆง่าย ความไม่มั่นใจในตนเอง เกิดจากการไม่สามารถประมวลผล หรือมองเห็นภาพความเป็นไปได้ทำให้การประเมินโอกาสที่จะเกิดขึ้นจริงทำได้ยากลำบาก จึงไม่มั่นใจว่าสิ่งที่ตนคิดจะเป็นอย่างไร แน่นอนว่าย่อมทำให้แรงผลักดันที่จะคิดฝันทำให้เกิดความสำเร็จเป็นรูปร่างตามภาพในความคิดน้อยตามไปด้วย

ดังนั้นหากมีผู้ที่สามารถให้คำแนะนำที่สำเร็จรูปเป็นรูปธรรมพร้อมนำไปใช้งานโดยไม่ต้องดัดแปลงมาก ก็จะตอบสนองความต้องการได้ดี อย่างไรก็ดีควรเรียนรู้ค่อยๆหาข้อมูลเปรียบเทียบไปควบคู่กันเพื่อพัฒนาตนเองให้มากขึ้นพอจะไม่เป็นจุดอ่อนที่กลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ในอนาคต

บทความอื่นๆ Click link

Leave a comment